คุณเคยสงสัยไหมว่า ในขณะที่เรานั่งหนาวเหน็บจนอยากจะลุกไปปิดแอร์ แต่เพื่อนร่วมงานที่นั่งโต๊ะข้าง ๆ กลับไม่สะทกสะท้านต่อความหนาวเย็น แบบที่เราเป็นเลยสักนิด เหตุผลที่แต่ละคนสามารถทนความหนาวได้แตกต่างกัน ก็เพราะว่า เรามีพื้นฐานภายในร่างกายไม่เหมือนกัน ดังนี้
น้ำหนักตัว
คนที่มีน้ำหนักตัวและไขมันมากกว่า จะมีไขมันเป็นเสมือนฉนวนกันความหนาวมากกว่าคนที่ผอมบาง
หญิงหรือชายสำคัญไฉน?
ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะขี้หนาวมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์แตกต่างกัน และความได้เปรียบของมวลกล้ามเนื้อของผู้ชาย ที่มีมากกว่า (1 ใน 3 ของพลังงานที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย มาจากกล้ามเนื้อ) ทำให้หนุ่ม ๆ ออฟฟิศไม่ค่อยสะทกสะท้านกับความเย็นเหมือนสาว ๆ สักเท่าไร
แต่ถ้าสาว ๆ คนไหนที่ออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว ก็จะช่วยให้ร่างกายมีมวลกล้ามเนื้อมาก ขึ้น สามารถปรับตัวรับอุณหภูมิในห้องแอร์ได้ดีกว่าเช่นกัน แต่ในช่วงวันก่อนมีประจำเดือน อุณหภูมิในร่างกายของสาว ๆ จะไม่คงที่ และอาจทำให้เกิดอาการขี้หนาวมากกว่าปกติ
อายุต่างก็หนาวต่างกัน
ปัจจัยของช่วงอายุที่แตกต่างกัน ทำให้ระบบฮอร์โมนในร่างกายของแต่ละคนต่างกันไปโดยปริยาย คนในวัยใกล้หมดประจำเดือนอาจมีอาการร้อน ๆ หนาว ๆ เพราะระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่ตลอด ทำให้รู้สึกเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวได้
กินดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
ควรกินอาหารให้ครบทุกมื้อ เพื่อที่ร่างกายจะได้มีพลังงาน ต่อสู้กับอากาศเย็น และควรเพิ่มรายการของ โปรตีน แมกนีเซียม (ข้าวกล้อง ข้าวโพด ผักโขม ผักตังกุย กล้วย) ที่ช่วยเรื่องระบบการไหลเวียนของเลือด โพแทสเซียม (องุ่น ผักสด เมล็ดธัญพืช และผลไม้แห้ง) ช่วยในการทำงานของระบบประสาท นอกจากนี้ ใบโหระพาสด วิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก ก็ช่วยเพิ่มเกล็ดเลือดให้แก่ร่างกาย ซึ่งถ้าร่างกายมีเกล็ดเลือด และเม็ดเลือดเพิ่มมากขึ้น แรงต้านกับอากาศหนาวก็จะเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับคนที่เป็นมังสวิรัติ การกินพืชผักใบเขียว และอาหารประเภทถั่วเหลืองก็ได้ผลดีเหมือนกัน
ยิ่งเครียดยิ่งหนาว
เชื่อหรือไม่ว่า ความเครียดเป็นบ่อเกิด ที่ทำให้คุณกลายเป็นคนขี้หนาวได้ สาเหตุก็เพราะระหว่างที่เครียดจัด ๆ นั้น ร่างกายของคนเรา จะลดประสิทธิภาพในการหมุนเวียนโลหิตในร่างกายโดยที่เราไม่รู้ตัว
เรื่องการออกกำลังกาย และการกินอาจต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะเห็นผล (แต่ได้ผล และมีประโยชน์ในระยะยาว) แต่สำหรับคนที่อยากตัวอุ่นขึ้นมาทันใจ เพราะทนไม่ไหวกับความเย็นจากแอร์ในห้อง ที่คอยบั่นทอนประสิทธิภาพในการทำงาน ต้องฟังทางออกง่าย ๆ แต่เห็นผลทันใจดังนี้
เลือกน้ำอุ่นและจิบชา
สำรวจตัวเองเสียหน่อยว่าติดการดื่มน้ำเย็นหรือเปล่า?? ถ้าใช่ ควรฝึกนิสัยในการดื่มน้ำอุ่น ๆ (ถ้าไม่ชิน เริ่มฝึกจากน้ำอุณหภูมิธรรมดา) เมื่อต้องทำงานในห้อง ที่มีอากาศเย็น หรือการจิบชาเปปเปอร์มินต์ ลาเวนเดอร์ ที่มีกลิ่นอโรมาช่วยในเรื่องการผ่อนคลายความเครียด รวมถึง น้ำขิง น้ำตะไคร้อุ่น ๆ ที่มีสรรพคุณช่วยให้เลือดไปหล่อเลี้ยง ที่ผิวหนังได้มากขึ้น เพราะนอกจากจะช่วยปรับอุณหภูมิในร่างกายให้อุ่นขึ้นแล้ว การถือแก้วน้ำอุ่น ๆ อยู่ในมือสักพักหนึ่งยังช่วยให้นิ้วและฝ่ามือคลายหนาวได้ อย่างน่าพอใจด้วย
ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะ
ศาสตราจารย์อลัน เฮดจ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์แนล ได้ทำการทดลองเรื่องอุณหภูมิของห้อง ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนในออฟฟิศว่า ในอุณหภูมิประมาณ 28 องศาเซลเซียส พนักงานสามารถพิมพ์งานได้ประสิทธิภาพดี เร็ว และผิดน้อยกว่าพนักงาน ที่นั่งทำงานในห้องที่มีอุณหภูมิประมาณ 20 องศาเซลเซียสถึงสองเท่า และการศึกษาได้ข้อสรุปออกมาอีกว่า อุณหภูมิระหว่าง 22 - 26 องศา เป็นอุณหภูมิ ที่เหมาะสมที่สุด ทั้งกับร่างกายของผู้หญิง และผู้ชาย
อย่างนี้ต้องเท้าอุ่นไว้ก่อน
เชื่อหรือไม่ว่า บริเวณข้อเท้าเป็นส่วน ที่ไวต่อความเย็นมากที่สุดที่หนึ่งในร่างกาย เพราะฉะนั้น คุณ ๆ ที่ชอบใส่รองเท้าแบบเปลือยมาทำงาน ควรสวมถุงเท้าเพื่อกันความเย็นไว้ ก็จะช่วยให้ร่างกายอุ่นขึ้นได้ ส่วนการเดิน หรือขยับเขยื้อนร่างกายบ้าง ระหว่างทำงานถือเป็นการวอร์มอัพร่าง กายไปในตัว ช่วยสร้างความอบอุ่นได้อีกทางหนึ่ง
Search This Blog
Friday, October 9, 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment