Search This Blog

Friday, November 13, 2009

สะกดจิตบำบัด (Hypnosis)

ซิกมันต์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้ศึกษาการสะกดจิต และพบว่า สามารถใช้การสะกดจิตในการช่วยผู้รับการบำบัด ให้มีอาการดีขึ้นได้จากความทรงจำที่เก็บกดไว้ โดยในขณะสะกดจิตผู้รับการบำบัด จะปลดปล่อยเหตุการณ์สะเทือนใจในวัยเด็กออกมา

" สะกดจิตบำบัด " (Hypnosis)
เป็นกระบวนการบำบัดทางจิต โดยชักนำผู้รับการบำบัดให้เข้าสู่ภาวะภวังค์ จากนั้นพยายามแก้ไขปมขัดแย้ง ที่คาดว่าผู้รับการบำบัดยังยึดติดอยู่ (Fixation) เพื่อให้ผู้รับการบำบัดแก้ปมดังกล่าว ส่งผลให้มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น หรือดำเนินชีวิตที่เป็นปกติ

ขั้นตอนการสะกดจิต

  1. พิจารณาเลือกผู้รับการบำบัด ที่จะถูกสะกดจิต ว่าสมควรใช้การสะกดจิตหรือไม่
  2. การทดสอบความสามารถของผู้รับการบำบัด ในการถูกสะกดจิต
  3. เทคนิคการสะกดจิตมีหลายวิธี ได้แก่ การใช้เสียงแบบสม่ำเสมอ เรียกว่า monotonous sound การใช้ยาร่วม เพื่อให้ผู้รับการบำบัดง่วง การใช้เสียงเคาะไม้ให้เป็นจังหวะ เสียงสวดมนต์ การใช้จ้องมองแสงไฟ ลูกแก้ว และวิธีการสัมผัส โดยลูบเบา ๆ หรือแตะตัวผู้รับการบำบัด เป็นต้น
  4. วิธีการดูกิริยาท่าทาง ที่แสดงความลึกของภวังค์ (Trance) ภายใต้การสะกดจิต และการทำให้หลับลึกขึ้น
  5. การปลุกจากการสะกดจิต เป็นการยุติการสะกดจิต ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยใช้เสียงปลุกผู้ถูกสะกดจิตเท่านั้น แต่ต้องบอกให้ผู้ถูกสะกดจิต กลับคืนสู่สภาพปกติเสียก่อน
  6. การใช้ประโยชน์จากการสะกดจิต จำเป็นต้องพิจารณาข้อบ่งใช้ และข้อห้าม
ภวังค์ (Trance) มี 4 ระดับ
  • ระดับที่ 1 ภวังค์ขั้นอ่อนที่สุด (Very light trance) ผู้ถูกสะกดจิตจะไม่รู้สึกว่าถูกสะกดจิต แต่จะรู้สึกผ่อนคลายความตึงเครียด (Relaxation) พบได้ร้อยละ 10
  • ระดับที่ 2 ภวังค์ขั้นอ่อน (Light trance) ผู้ถูกสะกดจิตยังไม่รู้สึกว่าถูกสะกดจิต ประสาทสัมผัสทั้งห้ายังปกติ ไม่สามารถเปิดตา แต่อาจกระพริบตาได้ พบได้ร้อยละ 25
  • ระดับที่ 3 ภวังค์ขั้นปานกลาง (Medium trance) ระดับนี้หนังตาปิดสนิท และยังรู้สัมผัส แต่ไม่เต็มที่ อาจมีอาการชาแขนขาได้ พบได้ร้อยละ 35
  • ระดับที่ 4 ภวังค์ขั้นลึกที่สุด (Deepest trance) เกิดอาการลืม (Amnesia) ร่างกายแข็งเกร็ง ไม่รับความรู้สึกเจ็บปวด หรือร้อนเย็น สามารถขักจูงให้กระทำตามได้ ทั้งขณะสะกดจิตและภายหลังจากหยุดสะกดจิตแล้ว ที่เรียกว่า Post Hypnotic Suggestion พบได้ร้อยละ 25
ข้อบ่งใช้
  1. ใช้ควบคุมผู้รับการบำบัด ที่เสพติดสารต่าง ๆ สุรา และบุหรี่
  2. ใช้แทนยาชาในการผ่าตัด สูติกรรม และทันตกรรม
  3. Psychosomatic disorder และโรคทางกายต่าง ๆ
  4. อาการ conversion, Amnesia และ Fugue
  5. นิสัยผิดปกติ ได้แก่ ปัสสาวะรดที่นอน กินจนเป็นโรคอ้วน ติดอ่าง
  6. ใช้การสะกดจิต เพื่อให้ผู้รับการบำบัดผ่อนคลายความตึงเครียด (Relaxation)
  7. ใช้ในการค้นหาข้อมูล เพื่อสร้างสมมติฐานจิตพลศาสตร์

ข้อห้าม


ผู้รับการบำบัดที่ได้การสะกดจิต จะอยู่ในภาวะที่พึ่งพิงผู้รักษา ทำให้อาจเกิด Transference อย่างรุนแรงได้ โดยเฉพาะ Transference ชนิดลบ อาจเกิดขึ้นในผู้รับการบำบัด ที่มีจิตเปราะบางมีปัญหาในการทดสอบความเป็นจริง (Reality Testing)

No comments:

Post a Comment