หากเมื่อใดที่คุณเป็นเบาหวานขึ้นมา ความเสี่ยงของโรคอื่น ๆ จะตามมาอีกพะเรอเกวียน โดยแต่ละโรคล้วนน่าเกรงขามทั้งนั้น
- เสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อน ที่หลอดเลือดใหญ่ เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองอุดตัน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดตีบที่เท้า
- เสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อนจากหลอดเลือดเล็ก เช่น เกิดโรคแทรกซ้อนทางตา ทำให้ประสาทการมองเห็นเสื่อมสภาพ และอาจตาบอดได้ และเกิดโรคแทรกซ้อนทางไต ทำให้ไตเสื่อม
- เสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อน ที่ระบบปลายประสาท เช่น เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม จนอาจต้องตัดแขนขา ระบบทางเดินอาหารมีปัญหา เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง และอันตรายต่อระบบปัสสาวะ เกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย
"โรคเบาหวาน" ที่เป็นกันมาก เรียกว่า โรคเบาหวานประเภทสอง จะเกิดเซลล์ในเนื้อเยื่อ ตับอ่อนสามารถผลิตสารอินซูลินได้ แต่ปริมาณไม่เพียงพอต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับปกติ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีสมาชิกครอบครัว ที่มีประวัติของการเป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่สูบบุหรี่ รวมทั้ง ผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป
อาการที่สังเกตเห็นง่าย ๆ คือ การเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ เนื่องจากระดับกลูโคสในเลือดสูง จึงทำให้ระบบขับถ่ายของร่างกาย ขับปัสสาวะออกทางไต คอแห้ง และกระหายน้ำ เนื่องจากมีการขับปัสสาวะมาก จึงทำให้มีความต้องการดื่มน้ำมาก ร่างกายผอมลงอย่างผิดสังเกต เนื่องจาก ไขมันในร่างกายถูกนำมาเป็นแหล่งพลังงานทดแทน ไกลโคเจนในตับ และกล้าม เนื้อ ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่สามารถสะสมได้ และมีอาการตาพร่ามัว เนื่องจากระดับกลูโคสในเลือดสูง จึงทำให้เลนส์ตาเปลี่ยนรูป และจุดโฟกัสของเลนส์เลื่อนไป
กินเพื่อป้องกัน
เมื่อเรารู้ว่า "เบาหวาน" มีอิทธิฤทธิ์ร้ายแรงขนาดนี้ เราควรจะรีบสกัดกั้นเสียแต่เนิ่น ๆ เราเคยมีการรณรงค์ ให้รับประทานปลากัน เพราะ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ปลาเป็นแหล่งโปรตีน ที่มีคุณภาพสูงกว่าเนื้อวัว และเนื้อหมู แถมยังอิ่มเร็ว ย่อยง่าย ป้องกันการเกิดโรคอ้วน และที่สำคัญ ปลาเป็นแหล่งโอเมก้า 3 สามารถป้องกันการโรคเบาหวาน หัวใจ และช่วยพัฒนาเซลล์สมองอีกด้วย
ข้อมูลของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดระบุว่า คนที่กินธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง เป็นปริมาณที่มากพอ จะช่วยลดความเสี่ยงโรคเบาหวานได้ถึง 40% ส่วนอาหารที่เพิ่มเบาหวาน ก็เป็นจำพวกเครื่องดื่มเติมน้ำตาล เนื้อ และพวกเนยเทียม
สำหรับพืชผักไทย ๆ ที่มีฤทธิ์ต้านเบาหวาน คือ มะระ ที่ความขมของมันทำให้ไม่อยากกลืนลงคอนั่นแหละ กลับมีสรรพคุณ ต้านเบาหวาน ช่วยระบาย และฆ่าเชื้อ นอกจากนี้แล้ว ยังมีการวิจัยพบว่า เปลือก และเนื้อมังคุด มีฤทธิ์ต้านเบาหวาน ลดอาการอักเสบ และต้านอนุมูลอิสระได้ "มะเขือพวง" ก็มีฤทธิ์ในการลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และลดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดจากเบาหวานได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ไตพิการ จอตาพิการ ประสาทพิการ และ ชาดำนอกจากจะมีสารต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดความดันโลหิตสูงแล้ว ยังสามารถควบคุมอาการของเบาหวานได้
การออกกำลังกาย ป้องกันโรค
หากเราวิ่งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยต้านการเป็นโรคเบาหวานได้อย่างดี เพราะ การพึ่งตัวเอง ดูแลตัวเอง ป้องกันตัวเอง ก่อนที่เข้าสู่กระบวนการรักษา ย่อมเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า การพึ่งพาหมออย่างแน่นอน
No comments:
Post a Comment