- จุดที่ 1 คือ บริเวณที่จับสายฉีดชำระ พบร้อยละ 85.3
- จุดที่ 2 คือ บริเวณพื้นห้องส้วม พบร้อยละ 50
- จุดที่ 3 คือ ที่รองนั่งส้วมแบบนั่งราบ หรือโถนั่งชักโครก พบร้อยละ 31 ซึ่งเชื้อโรคที่พบ เป็นการปนเปื้อนจากอุจจาระ
- ที่กดน้ำทำความสะอาด ในห้องส้วม
- ก๊อกน้ำ
- ลูกบิดประตู
- อ่างล้างมือ
ห้องน้ำสาธารณะ เป็นสถานที่รวมเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสปนเปื้อนจำนวนมาก เพราะเป็นที่ขับถ่ายสิ่งปฏิกูล และมีผู้ใช้ต่างหน้า และต่างถิ่นหลายคนมาใช้รวมกัน ซึ่งอาจไม่ทราบมาก่อนว่า ผู้ใช้บริการก่อนหน้านี้ มีเชื้อโรคอยู่ในร่างกายมากน้อยแค่ไหน โดยเชื้อโรคที่ว่านี้ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
- เชื้อในกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อหนองใน เชื้อเริม เป็นต้น
- เชื้อที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น เชื้ออุจจาระร่วง เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด เอ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ข้อแนะนำวิธีปฏิบัติตัวแบบง่าย ๆ เพื่อป้องกันการรับเชื้อโรค จากการเข้าห้องน้ำสาธารณะ มีดังนี้
- ใช้เวลากับการทำกิจธุระในห้องน้ำสาธารณะ ให้สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- ถ้าจำเป็นต้องใช้ชักโครก เลือกที่ดูสะอาด (ถ้ามีให้เลือก) ทำความสะอาดที่รองนั่งด้วยกระดาษทิชชูสักหน่อย แล้วจึงใช้งาน ไม่ต้องถึงกับใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เพราะมันอาจจะดูลำบากไปหน่อย
- เมื่อเสร็จกิจธุระแล้ว ต้องล้างมือทุกครั้ง เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรคติดมากับมือของเรา ซึ่งบางคนอาจจะละเลย เนื่องจาก รีบ หรือด้วยสาเหตุอื่น ๆ
ถึงกระนั้น เพื่อป้องกัน และระวังการใช้ห้องน้ำสาธารณะอย่างปลอดภัยนั้น ควรเริ่มตั้งแต่ การเปิด-ปิดประตู ซึ่งวิธีที่จะสัมผัสได้น้อยที่สุด คือ การใช้ข้อศอก หรือใช้สันหลังผลักเข้าไป ซึ่งบางห้อง ประตูอาจไม่ได้ปิดแน่น หรือปิดสนิท
จากนั้นเมื่อถึงขั้นตอนในการเข้าใช้ ให้ทำความสะอาดโถส้วมเบื้องต้น ด้วยน้ำ หรือทิชชูก่อน รวมทั้ง ไม่ควรขึ้นไปเหยียบโถส้วม (ส้วมที่เป็นชักโครก) เพราะถ้าขึ้นไปเหยียบบนโถส้วม เวลาคนใช้หลังจากเรา อาจติดเชื้อ ที่มาจากรองเท้าของเรา หรืออาจทำให้ชักโครกหัก จนเกิดอันตรายได้
ส่วนของการชำระล้าง ซึ่งในส่วนของปัสสาวะนั้น คุณผู้ชายคงไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นคุณผู้หญิง ที่ต้องใช้น้ำในการทำความสะอาด อาจต้องระวังเป็นพิเศษ กล่าวคือ ถ้าเป็นสายฉีดไม่ควรให้หัวฉีด เข้ามาใกล้ส่วนที่จะทำความสะอาดให้มากนัก ควรอยู่ในระยะห่างที่พอดี
แต่ถ้าเป็นน้ำ ในลักษณะตักใช้ ไม่แนะนำให้ตักน้ำในส่วน ที่มีอยู่ในถังเดิม แต่ควรให้รองจากก๊อกโดยตรง เพื่อป้องกันเชื้อโรค ที่อาจสะสมอยู่ในถังน้ำได้ เนื่องจากบางคนอาจมีนิสัยมักง่าย ชอบล้างมือ หรือเอาสิ่งของไปจุ่มทำความสะอาด จากนั้นหลังเสร็จภารกิจ ให้ราด หรือทำความสะอาดด้วยทุกครั้ง และท้ายสุด เวลาออกจากห้องน้ำทุกครั้ง ควรล้างมือให้สะอาด โดยใช้สบู่เหลว (ถ้ามี) ทุกครั้ง
“ห้องน้ำสาธารณะ” ถือเป็นสถานที่จำเป็น สำหรับบางครอบครัว ที่ต้องออกเดินทางไกล หรือชอบเดินเที่ยวตามศูนย์การค้า ดังนั้น จึงต้องระมัดระวัง และใส่ใจในการใช้ห้องน้ำประเภทนี้เป็นพิเศษ
ที่มา
นพ. เชิดพงษ์ ชินวุฒิ
สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช สาทร
No comments:
Post a Comment