ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
ต่อมใต้สมองอยู่ตรงส่วนล่างของสมอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ต่อมใต้สมองส่วนกลาง และต่อมใต้สมองส่วนหลัง
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า เป็นฮอร์โมนประเภทโปรตีน หรือโพลิเปปไทด์ ได้แก่
- Growth hormone เป็น ฮอร์โมนประเภทโปรตีน ที่ประกอบกรดอะมิโน 191 ตัว และมีธาตุกำมะถันอยู่ ในรูปไดซัลไฟด์ ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการเจริญของกล้ามเนื้อ และกระดูก และมีอิทธิพลกระตุ้นการเจริญ และเพิ่มความยาวของกระดูก รวมทั้งกระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
- Gonadotrophin ประกอบ ด้วยฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิด คือ FSH และ LH ฮอร์โมน FSH ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ ให้สร้างไข่ และไข่สุก กระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน และกระตุ้นอัณฑะให้สร้างตัวอสุจิ ส่วนฮอร์โมน LH ทำหน้าที่กระตุ้นให้ไข่ตก สำหรับในเพศชาย กระตุ้นให้อัณฑะสร้างฮอร์โมนเพศชาย
- โปรแลคติน ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญของต่อมน้ำนมในเพศหญิง และทำหน้าที่กระตุ้นต่อมลูกหมาก การบีบตัวของท่อนำอสุจิ การสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
- ACTH ทำหน้าที่กระตุ้นทั้งการเจริญเติบโต และการสร้างฮอร์โมน ของต่อมหมวกไตส่วนนอก และกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน
- TSH ทำหน้าที่กระตุ้นให้มีการเพิ่มการนำไอโอดีนเข้าต่อมไทรอยด์ เพื่อเพิ่มการสังเคราะห์ฮอร์โมน
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ของเนื้อเยื่อประสาทจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส เมื่อผลิตฮอร์โมนแล้ว จะลำเลียงมาไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ได้แก่
- Oxytocin ทำให้กล้ามเนื้อมดลูก เต้านม กระเพาะปัสสาวะเกิดการหดตัว ฮอร์โมนนี้จะมีการหลั่งออกมาขณะคลอดบุตร
- ADH ทำให้เส้นเลือดหดตัว ช่วยให้ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับคืน ทำให้ลดการสูญเสียน้ำ และเกลือแร่ที่จำเป็น
ฮอร์โมนจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส
การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า จะถูกควบคุมโดยฮอร์โมน ที่สร้างจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส มีทั้งฮอร์โมนที่กระตุ้น และยับยั้งการผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้า และมีชื่อเรียกตามผลที่แสดงออกต่อการสร้างฮอร์โมน ได้แก่
- ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง Growth hormone
- ฮอร์โมนยับยั้งการหลั่ง Growth hormone
- ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่งโปรแลคทิน
- ฮอร์โมนควบคุมการหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมน
- ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง Gonadotrophin
ฮอร์โมนจากตับอ่อน
- อินซูลิน ทำหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ให้เป็นปกติ ถ้ามีน้ำตาลในเลือดสูง ฮอร์โมนอินซูลินจะช่วยเร่งการนำกลูโคสเข้าเซลล์ และเร่งการสร้างไกลโคเจน เพื่อเก็บสะสมไว้ที่ตับ และกล้ามเนื้อ และเร่งการใช้กลูโคสของเซลล์ทั่วไป ทำให้น้ำตาลในเลือดน้อยลง
- กลูคากอน ทำหน้าที่เพิ่มน้ำตาลในเลือด โดยเร่งสลายไกลโคเจนในตับ ให้เป็นกลูโคส และเร่งการสร้างกลูโคสจากโปรตีน
- Glucocorticoid ทำหน้าที่ควบคุมสารคาร์โบไฮเดรตในร่างกาย เปลี่ยนไกลโคเจนในตับ และกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส จัดเป็นสเตียรอยด์ฮอร์โมน ที่สำคัญที่สุดในร่างกาย
- Aldosterone ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ ช่วยในการดูดกลับโซเดียม และคลอไรด์ภายในท่อไต
- ฮอร์โมนเพศ ช่วยกระตุ้นให้มีลักษณะทางเพศ ที่สมบูรณ์ทั้งชาย และหญิง
- อะดรีนาลิน ทำหน้าที่กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง ความดันเลือดสูงขึ้น เส้นเลือดขยายตัว เปลี่ยนไกลโคเจนในตับ ให้เป็นกลูโคสในเลือด ทำให้มีพลังงานมาก ในขณะหลั่งออกมา
- นอร์อะดรีนาลิน กระตุ้นให้เส้นเลือดบีบตัว ความดันเลือดสูงขึ้น
ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
- Thyroxin เป็นสารอนุพันธ์ของกรดอะมิโน ช่วยเร่งอัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย จำเป็นต่อการเจริญ และพัฒนาการของร่างกายโดยเฉพาะสมอง
- Calcitonin เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ลดระดับของแคลเซียมในเลือด ที่สูงเกินปกติให้เข้าสู่ระดับปกติ โดยดึงส่วนที่เกินนั้นไปไว้ที่กระดูก
ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์
- พาราไทรอยด์ฮอร์โมน ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียม และฟอสฟอรัสในเลือด และเนื้อเยื่อ ช่วยให้ไต และลำไส้เล็กดูดแคลเซียมกลับคืนได้มากขึ้น
- แคลซิโทนิน ทำหน้าที่ช่วยการดูดกลับของแคลเซียม ที่ท่อของหน่วยไต
ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์
- เทสโทสเตอโรน สร้างจากอัณฑะ ทำน้าที่เป็นฮอร์โมนเพศชาย ควบคุมลักษณะของเพศชาย เช่น เสียงแตก นมขึ้นพาน มีหนวดบริเวณริมฝีปาก กระดูกหัวไหล่กว้าง
- เอสโทรเจน เป็นฮอร์โมนเพศหญิง สร้างจากรังไข่ ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะเพศหญิง การมีประจำเดือน เตรียมการตั้งครรภ์ ห้ามการสร้างไข่
- โปรเจสเตอโรน สร้างจากรังไข่ ทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนา ห้ามการมีประจำเดือน ห้ามการตกไข่ ทำให้ต่อมน้ำนมเจริญมากขึ้น
ฮอร์โมนจากต่อมไพเนียล
เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญ ในช่วงก่อนวัยหนุ่มสาว เกี่ยวข้องกับวงจรการนอนหลับ และการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ฮอร์โมนจากเนื้อเยื่อในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก
- Gastrin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นใน ของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่กระตุ้นน้ำย่อยจากตับอ่อน การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก
- Secretin เป็น ฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นใน บริเวณดูโอดินัมของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย ในตับอ่อน และกระตุ้นตับให้หลั่งน้ำดี เมื่ออาหารผ่านจากกระเพาะ เข้าสู่ลำไส้เล็ก
ที่มา
นพ. วรวุฒิ เจริญศิริ
No comments:
Post a Comment