Search This Blog

Monday, November 9, 2009

ความดันโลหิตสูง

ภาวะความดันโลหิตสูง พบได้ประมาณ 10% ของประชากรทั่วโลก เป็นภาวะเรื้อรัง ที่พบได้บ่อยในคนไทย และสามารถตรวจพบได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ

อย่างไรจึงจะเรียกว่าความดันโลหิตสูง


โดยปกติผู้ที่อายุไม่ถึง 40 ปี ความดันโลหิตไม่ควรเกิน 140/90 มม. ปรอท ค่าความดันตัวบนอาจจะเพิ่มขึ้นตามอายุ จะทราบค่าความดันโลหิตตัวบนปกติของแต่ละอายุได้ โดยนำจำนวนอายุมาบวกกับ 100 โดยทั่วไป ความดันตัวบนไม่ควรเกิน 160 มม. ปรอท และความดันตัวล่าง (ในผู้ใหญ่) ไม่อายุเท่าไหร่ก็ตามไม่ควรเกิน 90 มม. ปรอท

อาการสำคัญที่พบในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
คือ
  • ปวดศีรษะ มึนงง โดยทั่วไปจะปวดบริเวณท้ายทอย และมักจะเป็นในตอนเช้า ถ้าความดันโลหิตสูงมาก และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะมีอาการคลื่นไส้ และตามัวร่วมด้วย ในบางรายอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย
  • เหนื่อยง่าย เนื่องจากหัวใจต้องทำงาน
  • เลือดกำเดาออก

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้ามีความดันโลหิตสูงแล้ว ไม่รักษา
หรือรักษา และปฏิบัติตัวไม่สม่ำเสมอ
  1. สายตาเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว หรือตาบอด หลอดเลือดในตา อาจตีบตัน หรือแตก มีการตกเลือดในตา หรือบวมในชั้นตาที่รับภาพ
  2. อาการทางสมอง หลอดเลือดในสมองตีบ หรือแตก มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาจชัก หรือไม่รู้สึกตัว และอาจเกิดอัมพาต ถ้ารักษาไม่ทัน
  3. หัวใจ ล้มเหลว จากการที่กล้ามเนื้อหัวใจ ต้องทำงานมากขึ้น จึงทำให้หัวใจโต เกิดอาการเหนื่อย หอบหายใจลำบาก โดยเฉพาะทางกลางคืน และภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อขาดเลือด จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
  4. ไตพิการ หรือไตอักเสบ เกิดอาการบวม

ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะมีชีวิตยืนยาวได้เช่นคนปกติหรือไม่??

สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่มาก และได้รับการรักษา ตั้งแต่เริ่มแรกต่อเนื่อง และปฏิบัติตัวอย่างสม่ำเสมอ โดยยังไม่มีภาวะหัวใจโต หรือกล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น ไม่มีภาวะไตวาย และหลอดโลหิตยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก มีโอกาสจะมีชีวิตยืนยาวได้เช่นคนปกติ แต่ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงแล้ว ควรได้รับดูแลการรักษาอย่างต่อเนื่องโดยแพทย์เฉพาะทาง มิเช่นนั้นแล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตยืนยาวย่อมน้อยลง

ที่มา
นพ. ยงยุทธ เจียงวิริชัยกูร

No comments:

Post a Comment