ถ้าพูดถึง "ทิชชู" (Tissue) หรือ " กระดาษทิชชู " ส่วนใหญ่เรามักเหมารวมว่า หมายถึง " กระดาษชำระ มีสีขาว เนื้อบางเบา " ที่มีคุณสมบัติซึมซับน้ำได้ดี เป็นสินค้าจำเป็นประจำครัวเรือน สำนักงาน ร้านอาหาร หรือเกือบในทุกสถานที่ ทุกแห่งที่มีคนอยู่ก็ว่าได้ " ทิชชู " มักถูกนึกถึงในเวลาฉุกเฉิน เอาไว้เช็ดทำความสะอาด
อย่างไรก็ตาม กระดาษทิชชู่มีอยู่หลายประเภท และสามารถแบ่งออกตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่
- กระดาษชำระ (Toilet tissue)
- กระดาษเช็ดหน้า (Facial tissue)
- กระดาษเช็ดปาก (Paper Napkin)
- กระดาษเช็ดมือ (Paper Hand towel) และ
- กระดาษเอนกประสงค์
แต่ดูเหมือนว่า คนไทยอย่างเรา ๆ จะใช้ทิชชู โดยไม่ได้คำถึงถึงประเภทของทิชชู เรามักเห็นกระดาษชำระ วางอยู่บนโต๊ะอาหาร หรือถูกนำไปเช็ดหน้าเช็ดตา หรือแม้กระทั่งเอาไว้ห่อ หรือวางรองอาหารด้วยซ้ำ โดยที่ไม่คิดรังเกียจใด ๆ ทั้งที่ "กระดาษชำระ" นั้นคือ กระดาษเหมาะสำหรับทำความสะอาดหลังขับถ่าย เป็นกระดาษย่น นุ่ม ดูดซึมน้ำได้ดี และยุ่ยง่ายเมื่อถูกน้ำ (มอก.214/2530)
ด้วยความที่เราใช้กระดาษชำระ ชำระกันไปเสียแทบทุกอย่าง จึงมีข้อสงสัยว่า กระดาษชำระดังกล่าว มีความสะอาด และปลอดภัยมากแค่ไหน ทั้งนี้ หลังจากพลิกอ่านคู่มือมาตรฐานอุตสาหกรรมกระดาษทิชชู ก็พบว่า ตามมาตรฐานของกระดาษชำระ จะเน้นความสำคัญไปที่การซึมซับน้ำ การย่อยสลาย ขนาด และจุดสกปรก ซึ่งเมื่อเราดูจากตาเปล่า เราไม่สามารถเห็นสิ่งปกติใด ๆ แต่ความจริงแล้ว มันมีสิ่งแปลกปลอมใด ๆ แฝงอยู่หรือไม่ ต้องตามอ่านกันต่อไป
เราได้ส่งตัวอย่างกระดาษชำระ ทั้งแบบเกรดเอ และเกรดบี 24 ตัวอย่าง ไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติกลางประเทศไทย เพื่อทดสอบหาปริมาณจุลินทรีย์ ชนิดก่อโรค ได้แก่ Bacillus cereus, Staphylococcous, Escherichis coli, Salmonella, Yeast and mold และ Total Plate Count
ผลการทดสอบพบว่า " ทุกยี่ห้อมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในปริมาณน้อยมาก ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่...อย่างไรก็ตาม ยังถือว่าไม่ปลอดจุลินทรีย์ " ดังนั้น จึงควรใช้กระดาษชำระให้ถูกกับงาน การนำไปใช้ผิดงาน อาจก่อให้จุลินทรีย์ปนเปื้อน และหากทิ้งไว้เป็นเวลานาน เมื่อสิ่งที่ถูกเช็ด มีสภาวะเหมาะสมต่อการเติบโตของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์จะสามารถขยายตัวได้ จนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
เราได้มีการทำงานร่วมกันของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้โลกเป็นสถานที่ ที่ดีกว่า
ReplyDeletePlastics Thailand