ลักษณะทั่วไปของแชมพูต้องเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่แยกชั้น ไม่ตกตะกอน มีกลิ่นหอม ไม่มีสิ่งแปลกปลอม ส่วนประกอบต่าง ๆ จะต้องไม่มีสาร หรือวัตถุที่ห้ามใช้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสําอาง สารที่กําหนดปริมาณการใช้จะต้องไม่เกินเกณฑ์ สีที่ใช้ต้องเป็นไปตามที่กําหนด ความคงสภาพต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่แปรสภาพ หรือเสื่อมคุณภาพ จํานวนแบคทีเรีย ยีสต์ และราทั้งหมด ต้องไม่เกิน 1,000 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม ค่าความเป็นกรด - ด่างต้องอยู่ระหว่าง 5.0 - 8.0 การใช้งานต้องสามารถขจัดสิ่งสกปรก ฝุ่นละอองบนเส้นผมและหนังศีรษะได้ และทําให้เส้นผมนุ่มสลวย การบรรจุ ให้บรรจุแชมพูในภาชนะบรรจุที่สะอาด แห้ง ผนึกได้เรียบร้อย และสามารถป้องกันการปนเปื้อน จากสิ่งสกปรกภายนอกได้
สารประกอบหลักของแชมพู
สารประกอบหลักของแชมพูเป็นสารลดแรงตึงผิว และทำให้เกิดฟอง ที่มีคุณสมบัติสามารถชะล้าง หรือทำความสะอาดเส้นผมได้ โดยปกติส่วนโครงสร้างภายในเส้นผมของคนเรานั้น มีประจุลบ แต่ภายนอกโครงสร้างดังกล่าวจะมีประจุบวก
ในสมัยก่อนมักนิยมใช้สบู่ แต่การใช้สบู่สระผมมีข้อเสีย ที่เป็นอันตรายต่อเส้นผม และผิวหนัง เนื่องจากสบู่ทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดเป็นด่าง และในกรณีที่ใช้น้ำกระด้างสระผม สบู่จะทำปฏิกิริยากับน้ำกระด้าง ทำให้แคลเซียมตกตะกอน และเกาะเส้นผม ผลที่เกิดขึ้น คือเส้นผมไร้เงามัน เปราะ และหวียาก
ต่อมาจึงเลิกใช้สบู่ มาใช้สารลดแรงตึงผิว และทำให้เกิดฟองชนิดประจุลบแทน สารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติละลายน้ำแล้วให้ประจุลบ ให้ฟองมาก ไม่เป็นอันตรายต่อตา และมีราคาไม่แพง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นราคาก็แปรตามสภาพของสาร ชนิดที่ดีกว่าราคาจะแพงกว่า
แชมพูที่พบตามท้องตลาดมากมายหลายชนิด จะมีสารสารลดแรงตึงผิว และทำให้เกิดฟองชนิดประจุลบผสมอยู่ในสัดส่วนค่อนข้างสูง ข้อดีของสารสารลดแรงตึงผิว และทำให้เกิดฟองชนิดประจุลบ คือ ล้างสะอาด ฟองมาก ส่วนข้อเสีย คือ มีความเป็นด่างค่อนข้างมาก และตกตะกอนเมื่อทำปฏิกิริยากับแคลเซียม ตะกอนที่เกาะตามผมเหล่านี้ จะทำให้ผมด้าน ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งก็ คือ ทำให้ผมฟู เนื่องจากมีประจุลบผลักดันระหว่างประจุลบในเส้นผม กับประจุลบจากสารเกิดฟอง ตัวอย่าง สารสารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟองชนิดประจุลบ ที่นิยมใช้ในการผลิต ได้แก่ alkyl sulfate salt, aryl sulfonate และ sarcoside
สารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟองชนิดประจุบวก เป็นสารที่มีคุณสมบัติละลายน้ำแล้วได้ประจุบวก ทำให้ผมนิ่ม หวีง่าย ลดอาการกระเซิงของเส้นผม อาจแก้เส้นผมที่เสียได้บ้าง ข้อเสียคือ บางชนิดมีอันตรายต่อตาและผิวหนัง และมีฟองน้อย ทำให้สิ่งสกปรกติดเส้นผมง่าย เนื่องจากคุณสมบัติของการที่มีฟองน้อยนี้เอง จึงไม่นำมาใช้เป็นตัวหลักในการทำแชมพู แต่มักนำมาใช้เป็นตัวหลักในการทำครีมนวดผม หรือนำมาใช้ในผู้ที่ต้องการย้อมผม ตัวอย่าง สารสารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟองชนิดประจุบวก ที่นิยมนำมาใช้ในการผลิต ได้แก่ quarternary lanolin (lanoquat) และ protein Q
สารลดแรงตึงผิว และทำให้เกิดฟองชนิดประจุบวกลบ มีคุณสมบัติเมื่อละลายน้ำแล้ว มีทั้งประจุบวกและลบ ช่วยปรับค่าความเป็นกรด - ด่าง และช่วยให้ฟองคงทน ทำให้เส้นผมไม่หยาบแห้ง แต่มีราคาแพง และจับกับเส้นผม ทำให้ผมดูมัน และแฉะง่าย ดังนั้นจึงนิยมใช้เป็นส่วนผสมในแชมพู แต่ไม่ใช่ตัวหลัก สารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟองชนิดนี้ มักใช้ผสมกับสารประจุลบ ทำให้เกิดฟองหนา ตัวอย่างเช่น miranol, derphat
สารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟอง ชนิดที่ละลายน้ำแล้วไม่ให้ประจุ ทำให้มีฟองคงทน แต่มีราคาแพง จึงไม่ใช้เป็นตัวหลัก นิยมใช้เป็นส่วนผสมที่ช่วยป้องกันผมเปราะ จากการใช้สารลดแรงตึงผิว และทำให้เกิดฟองชนิดประจุบวก
นอกจากนี้ ยังมีการใช้สมุนไพรธรรมชาติ เช่น saponin แต่อาจทำให้เกิดฟองน้อย จึงมักใช้ร่วมกับสารอื่น
ในปัจจุบัน "ซิลิโคน" ใช้มากเป็นที่แพร่หลาย ในการบำรุงเส้นผม เนื่องจากมีพลังงานต่ำต่อผิว สัมผัสดูรู้สึกว่าไม่เหนียว เป็นฟิล์มเคลือบบาง ๆ บนผิวของเส้นผม รวมทั้งปลายผม ทำให้ดูเป็นเงามัน เป็นการลดความเสียดสี เมื่อเวลาหวี หรือย้อมดัด เส้นผมแต่ละเส้นดูเบากว่า สยายผมได้ดีกว่า และยืดหยุ่นดี ซิลิโคนที่ดี คือ กลุ่มโปซิลิโลเซนซึ่งมีหลายชนิด การเลือกใช้ให้พิจารณาตามสภาพของเส้นผมว่าต้องการซิลิโคนแบบไหน
สารต่าง ๆ ที่ผสมลงไปในแชมพู
- สารที่ผสมลงไปในแชมพู ทำให้มีคุณสมบัติต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น สารให้กลิ่นหอม สารที่เป็นตัวทำละลาย ซึ่งที่นิยมใช้มากคือ alcohol, glycol, glycerol สารนี้ป้องกันการตกตะกอนของแคลเซียมจะทำให้ผมไม่มันและเหนียว
- สารที่ปรับสภาพผม เช่น lanolin ทำให้ผมแห้ง, imageprotein Q ทำให้เส้นผมมีน้ำหนัก, arly beta-aminopropionate ป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตบนเส้นผม ส่วนสารที่ทำให้ผมเงางาม ได้แก่ 4-methyl-7 diethyl amino coumarin 4-emthyl-5-7 dihydrocoumarin
- สารช่วยให้เกิดฟอง เป็นคุณสมบัติที่ทำให้ผู้บริโภคใช้นิยมใช้ การผสมเซลลูโลส ทรากะคัน และเจล ช่วยให้ดูว่าเนื้อยาสระผมเหนียวข้นขึ้น บางชนิดใส่เกลือลงไป กลายเป็นเจลเทียม บางชนิดเคลือบมุก ทำให้เนื้อยาสระผม ซึ่งมักเป็นของเหลวคลายเป็นครีมมุกทำให้เส้นผมนิ่ม หรือการใช้สารดูดซับพวกโลหะซึ่งมักตกตะกอนบนเส้นผม อันเป็นสาเหตุทำให้ผมไม่เป็นเงา
- นอกจากนี้ ยังใช้สารกันบูดกันเชื้อโรค ใส่กลิ่นหอม ถ้ามีรังแคใส่สารขจัดรังแคเพิ่ม เช่น สังกะสี ไพรีไทโอน ไพรอกโตนโอลามีน กำมะถัน น้ำมันดิบ และน้ำมันต่างๆ
ปัญหาที่เกิดจากการใช้แชมพู
เท่าที่มีปรากฏในรายงานทางการแพทย์ ปัญหาที่อาจพบได้มีดังต่อไปนี้
- ปัญหาที่เกิดจากการระคายเคืองหนังศีรษะ พบได้น้อยมากโดยเฉพาะอย่างผลิตภัณฑ์สมัยใหม่ที่ได้มาตราฐาน
- ปัญหาที่เกิดจากค่าความเป็นกรด - ด่างของหนังศีรษะ แพทย์จะแนะนำให้ใช้แชมพูประเภท for pH-balanced shampoo
- ปัญหาเกิดอาการผิวหนังศีรษะอักเสบชนิด seborrheic dermatitis ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณและชนิดของจุลินทรีย์เปลี่ยนแปลงไป พบได้น้อย
- หนังศีรษะแห้ง เนื่องจากซีบุมถูกชะล้างออกไปมาก และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด สแต๊ฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส ที่หนังศีรษะได้ง่ายกว่าปกติ
- เกิดเป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิด irritant contact dermatitis เท่าที่มีรายงานในวารสารการแพทย์ พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากสาร sodium lauryl sulphate แพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ sodium laureth sulphate แทน
- เกิดเป็นโรคลมพิษชนิด contact urticaria สาเหตุจากน้ำหอมที่ผสมลงไป หรือสารกันบูด
- เกิดเป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิด allergic contact dematitis ส่วนใหญ่เกิดจาก chamomile, lavender, rose oil, kathon CG และ quaternium-15
- เกิดเป็นโรคภูมิแพ้โปรตีนชนิด protein contact dermatitis พบได้น้อยมาก ทั่วโลกมีรายงานไม่ถึง 10 ราย
No comments:
Post a Comment