ยาทุกชนิดจะมีอายุระยะหนึ่งแล้วจะมีวันหมดอายุ โดยสามารถทราบวันหมดอายุได้จากฉลากยา ซึ่งจะบ่งบอกวันหมดอายุไว้ หรือหากมีเฉพาะวันผลิต ก็ไม่ควรใช้ยานั้นหลังจากผลิตแล้ว 5 ปี สำหรับยาทั่วไป หรือไม่เกิน 3 ปี สำหรับยาปฏิชีวนะ แม้ว่าจะยังไม่พบว่า ยานั้นเปลี่ยนสภาพไปจากปกติ เมื่อมองดูด้วยตาเปล่าก็ตาม เพระจะถือว่ายาดังกล่าวหมดอายุไปแล้ว
แต่หากเมื่อใด การเก็บรักษาอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ทิ้งไว้ในซองยาที่ภาชนะปิดไม่สนิทและไม่มีสารกันชื้น เก็บในที่ร้อนถูกแสงแดด อยู่ในที่ความชื้นเข้าไปได้ ยานั้นก็จะมีการเสื่อมสภาพก่อนอายุจริงได้ ก็ไม่ควรนำยานั้นมาใช้แล้วเช่นกัน
ลักษณะการเสื่อมสภาพของยา อาจสังเกตได้ดังนี้
- ยาเม็ด จะมีลักษณะเม็ดยาแตกร่วน เปลี่ยนสี ยาที่เคลือบน้ำตาลเยิ้มเหนียว เป็นรอยด่าง หรือแตกร่อนเป็นต้น
- ยาแคปซูล แคปซูลจะบวม พองออก หรือจับตัวกัน
- ยาน้ำแขวนตะกอน เช่น ยาลดกรด ยาแก้ท้องเสีย ตะกอนจะจับกันเป็นก้อนแข็งเขย่าแรง ๆ ก็ไม่กระจายตัว หรือกลิ่น สี รสเปลี่ยนไปต่างเดิม
- ยาน้ำเชื่อม เช่น ยาน้ำลดไข้สำหรับเด็ก ยาจะขุ่นมีตะกอน สีเปลี่ยน มีกลิ่นบูดเปรี้ยว
การ ใช้ยาอย่างถูกวิธีจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการรักษา หากใช้ยาผิด ยาเก่าเก็บ หรือใช้ยานอกเหนือจากคำแนะนำของแพทย์ อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีได้
No comments:
Post a Comment