การแพ้ยา แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด
1. การแพ้ยาที่เกิดขึ้นแบบทันทีทันใด
- อะนาฟัยแลกซีส (Anaphylaxis) เป็นอาการแพ้ที่พบได้น้อย แต่ว่ารุนแรงถึงชีวิต เนื่องจากหลอดลมตีบ ความดันโลหิตต่ำ หมดสติ อาการที่เกิดขึ้นรวดเร็วมาก ต้องทำการรักษาอย่างทันท่วงที มิฉะนั้น อาจเสียชีวิตได้ยาที่มีโอกาสทำให้เกิดอาการแพ้เช่นนี้ เช่น เพนนิซิลิน ยาฉีดทุกชนิด
- อาการแพ้อื่น ๆ เช่น มีอาการผื่นคัน บวม มีไข้ หากหยุดยา 2 - 3 วัน ไข้ก็จะหายไป บางครั้งอาจเกิดอาการหอบหืดคัดจมูกได้
2. การแพ้ยาแบบทิ้งช่วง
ร่างกายจะแสดงอาการ หรือมีการตอบสนองต่อยา หลังจากได้รับยาไปแล้ว 1 - 2 วัน อาการที่พบได้แก่ ผื่นแดงอักเสบ เม็ดเลือดขาวลดลง โลหิตจาง แผลในกระเพาะอาหาร จนถึงไตถูกทำลาย
เมื่อแพ้ยาควรทำอย่างไร?
- ถ้าแพ้เพียงเล็กน้อย เช่น มีผื่นแดง คัดจมูกให้หยุดยา และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
- ถ้ามีผื่นคันมาก อาจใช้ยาแก้แพ้ชนิดรับประทานบรรเทาอาการได้
- ถ้าแพ้รุนแรงต้องหยุดยาทันที และรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้การรักษาได้ทันท่วงที
- เมื่อแพ้ยาใดแล้ว ต้องจดจำชื่อสามัญทางยาของยาที่แพ้นั้น หรือจดใส่สมุดบันทึก ไม่ควรจำสีหรือรูปร่างลักษณะของเม็ดยา เนื่องจากไม่อาจบ่งบอกได้แน่นอนว่าเป็นยาอะไร หากไม่มีชื่อยาบนซองหรือฉลากที่ใช้ ควรกลับไปขอชื่อสามัญทางยาจากแหล่งที่ได้รับยานั้น
- งด ใช้ยาที่เคยแพ้ และเพื่อไปพบแพทย์หรือซื้อยา ควรแจ้งให้ทราบว่าเคยแพ้ยาอะไร เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยานั้น หรือยาที่มีส่วนผสมของยาที่เคยแพ้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงกว่าที่เคยเป็นได้
- ที่สำคัญคือ ไม่ควรใช้ยาพร่ำเพรื่อโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะที่ยาที่ท่านไม่ทราบเลยว่าเป็นยาอะไร เช่น ยาชุด ยาที่ไม่มีฉลาก หากเจ็บป่วยมาก ต้องได้รับการรักษาด้วยยา ควรพบแพทย์หรือขอคำแนะนำเรื่องยาจากเภสัชกรจะดีที่สุด
No comments:
Post a Comment