Search This Blog

Thursday, September 10, 2009

อันตรายจากการใช้ยา

ยาทุกตัวย่อมมีทั้งคุณและโทษควบคู่อยู่ด้วยกันเสมอ ในการใช้ยาจึงต้องรู้ว่าควรใช้อย่างไร ใช้ขนาดเท่าไหร่ ถ้าหากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ควรใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ อันตรายที่เกิดจากการใช้ยาแบ่งได้ 7 ประเภท ดังนี้

1. การใช้ยาเกินขนาด (Overdosage toxicity) เช่น
  • รับประทานปริมาณมาก ๆ ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis) แจถึงตายได้
  • พาราเซตามอล จำนวนมาก ๆ ทำให้ถึงตายได้
  • ฟีโนบาร์บิโทน ขนาดมาก ๆ ทำให้กดศูนย์ควบคุมการหายใจ ผู้ป่วยหยุดหายใจถึงตายได้
  • ยารักษาเบาหวานหลายเม็ด อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปจนเป็นลมถึงตายได้
2. ผลข้างเคียงของยา (Side effect) เช่น
  • ทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะ (กัดกระเพาะ) เป็นโรคกระเพาะได้ เช่น ยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ สเตอรอยด์ รีเซอร์พีน
  • ทำให้หูหนวก เสียการทรงตัว เช่น สเตรปโตมัยซิน
  • เป็นพิษต่อไต เช่น สเตรปโตมัยซิน ยาประเภทซัลฟา
  • ทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Agranulocytosis) เช่น ไดพัยโรน ซัลฟา เฟนิลบิวตาโซน ยารักษาคอพอก เป็นต้น
  • ทำให้มีพิษต่อตับ เช่น เตตราซัยคลีน อีริโทรมัยซิน ไอเอ็นเอช ไทอาเซตาโซน เป็นต้น
  • ทำให้มีพิษต่อประสาทตา เช่น อีแทบูทอล คลอโรควีน เป็นต้น
  • ทำให้ฟันเหลืองดำ เช่น เตตราซัยคลีน
3. การแพ้ยา (Drug hypersenstivity)

4. การดื้อยา (Drug allergy) มักจะเกิดกับยาปฏิชีวนะที่ใช้กันอย่างผิด ๆ

5. การใช้ยาในทางที่ผิด และการติดยา (Drug abuse และ Drug dependence) เช่น
  • การติดยามอร์ฟีน เฮโรอีน ยาแก้ปวดที่เข้าคาเฟอีน ยากระตุ้นประสาท แอมฟีตามีน (ยาบ้า ยาขยัน)
  • การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นยาลดไข้
  • การใช้สเตอรอยด์เป็นยาลดไข้ หรือยาลดความอ้วน
  • การใช้เอฟีดรีน หรือแอมฟีตามีนเป็นยาขยัน
  • การใช้น้ำตาลเกลือแร่ (ORS) เป็นยาบำรุงร่างกาย
  • ปฏิกริยาต่อกันของยา (Drug interaction) จะเกิดขึ้นเมื่อมียาเข้าสู่ร่างกายมากกว่า 2 ตัวขึ้นไปพร้อมกัน ซึ่งอาจจะเสริมฤทธิ์กัน หรือำทำให้ฤทธิ์ยาแรงขึ้น หรือต้านฤทธิ์กัน ทำให้ผลการรักษาลดน้อยลงไป เช่น
* แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์) ถ้ารับประทานพร้อมกับยานอนหลับ ยาแก้แพ้ จะช่วยเสริมฤทธิ์การนอนหลับมากขึ้น
* แอลกอฮอล์ ถ้ารับประทานพร้อมกับแอสไพริน จะเสริมฤทธิ์การระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
* อีริโทรมัยซิน ถ้ารับประทานพร้อมกับทีโอฟิลลีน จะทำให้ระดับของยาชนิดหลังในกระแสเลือดสูงขึ้น
* เฟนิลบิวตาโซน ไอเอ็นเอช หรือซัลฟา ถ้ารับประทานพร้อมกับยารักษาเบาหวาน จะเสริมฤทธิ์การลดน้ำตาล ทำให้เกดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
* สเตอรอยด์ ไทอาไซด์ หรือแอดรีนาลีน จะต้านฤทธิ์การลดน้ำตาลของยารักษาเบาหวาน ถ้าใช้พร้อมกัน อาจทำให้การรักษาเบาหวานไม่ได้ผล
* บาร์บิทูเรต แอมพิซิลลิน เตราซัยคลีน หรือยารักษาโรคลมชัก (เช่น ไดแลนทิน) ถ้ารับประทานพร้อมกับยาเม็ดคุมกำเนิด จะออกฤทธิ์ต้านยาคุมกำเนิด
* ยาลดกรด ถ้ารับประทานร่วมกับเตตราคลีน หรือยาบำรุงโลหิต จะทำให้การดูดซึมของเตตราซัยคลีน หรือยาบำรุงโลหิตลดน้อยลง
* แอสไพริน จะต้านฤทธิ์การขับกรดยูริกของโพรเบเนซิด (Probenecid) จึงห้ามใช้แอสไพรินในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่ใช้ยาโพรเบเนซิด

6. การตอบสนองต่อยาในคนที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น
  • คนที่มีภาวะพร่องเอนไซม์จี-6-พีดี ซึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ ถ้ากินแอสไพรินซัลฟา คลอแรมเฟนิคอล ฟูราโซลิโดน พีเอเอส ควินิน ไพรตาโซนอาจทำให้เกิดโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกได้
  • คนที่เป็นโรคเก๊าท์ ถ้ากินสเตอรอยด์ไทอาไซด์ หรือ แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์) ก็อาจทำให้โรคกำเริบได้
  • คนที่เป็นเบาหวาน ถ้ากินสเตอรอยด์ ไทอาไซด์ หรือยาเม็ดคุมกำเนิดก็อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้

ข้อแนะนำ การใช้ยาไม่ให้เป็นโทษ
  1. ทำความรู้จักยาทั้งในแง่สรรพคุณ ผลข้างเคียง ขนาดที่ใช้ ระยะเวลาที่ใช้ ไม่ใช้อย่างเดาสุ่ม อย่างครอบจักรวาล อย่างพร่ำเพรื่อ หรือมากเกินไป
  2. หากมีประวัติการแพ้ยาชนิดใด ควรบอกให้แพทย์ทราบทุกครั้ง
  3. ไม่ซื้อยาชุดจากร้ายขายยาเอง เนื่องจากมักมียาอันตรายผสมอยู่ด้วย เช่น คลอแรมเฟนิคอล เพร็ดนิโซโลน

No comments:

Post a Comment