กระเพาะอาหารอักเสบ หรือโรคแผลในกระเพาะอาหาร หมายถึง การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และในลำไส้เล็กส่วนต้น อาจเกิดได้ โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ส่วนหนึ่งเชื่อว่า เกี่ยวข้องกับการหลั่งกรด ในกระเพาะอาหารมากขึ้น มีความต้านทานที่ผิวของเยื่อบุกระเพาะอาหารลดลง อาจมีความสัมพันธ์กับสภาวะทางจิตใจ หรืออาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมก็ได้
ส่วนกลุ่มที่หาสาเหตุได้ ได้แก่ กลุ่มที่มีโรคอื่น ๆ ร่วม เช่น ภาวะช็อคติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะการหายใจล้มเหลว หรือจากการรับประทานยาบางอย่าง เช่น ยาแก้ปวดแอสไพริน เป็นต้น
อาการของโรคกระเพาะอาหาร
สามารถเป็นได้ตั้งแต่ อาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำในเด็ก ทารกอาจมีเลือดออกจากทางเดินอาหาร โดยไม่มีอาการอื่นมาก่อนก็ได้, ส่วนเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร มักมีอาการรับประทานน้อย เลี้ยงไม่โต, ในเด็กวัยก่อนเรียน อาการที่พบบ่อย คือ การอาเจียน ร่วมกับอาการปวดท้อง, ในเด็กที่โตขึ้น จะเหมือนผู้ใหญ่ มักมีอาการปวดท้องเรื้อรัง ที่บริเวณลิ้นปี่ โดยจะรู้สึกปวดมากเวลาหิว บางครั้งก็ปวดเวลาหลับตอนกลางคืน หรือหลังตื่นนอนตอนเช้า และอาการปวดจะลดลง หลังรับประทานอาหารเข้าไป
ผู้ป่วยที่มีอาการ ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคกระเพาะอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อจะได้รับการตรวจวินิจฉัยที่แน่นอน ถ้าหากเป็นโรคกระเพาะจริง ๆ การรักษาตั้งแต่เริ่มต้น จะง่ายกว่าการรักษาเมื่อเป็นเรื้อรัง
วิธีป้องกันไม่ให้เป็นโรคกระเพาะอาหาร เท่าที่ทุกท่านพอจะทำได้ คือ หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวด ประเภทแอสไพริน, หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด, น้ำอัดลมทุกชนิด ในกรณีของเด็ก ๆ ความสัมพันธ์ที่อบอุ่นภายในครอบครัว จะช่วยในการรักษาโรคนี้ทางอ้อมได้ส่วนหนึ่งเหมือนกัน
ส่วนกลุ่มที่หาสาเหตุได้ ได้แก่ กลุ่มที่มีโรคอื่น ๆ ร่วม เช่น ภาวะช็อคติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะการหายใจล้มเหลว หรือจากการรับประทานยาบางอย่าง เช่น ยาแก้ปวดแอสไพริน เป็นต้น
อาการของโรคกระเพาะอาหาร
สามารถเป็นได้ตั้งแต่ อาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำในเด็ก ทารกอาจมีเลือดออกจากทางเดินอาหาร โดยไม่มีอาการอื่นมาก่อนก็ได้, ส่วนเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร มักมีอาการรับประทานน้อย เลี้ยงไม่โต, ในเด็กวัยก่อนเรียน อาการที่พบบ่อย คือ การอาเจียน ร่วมกับอาการปวดท้อง, ในเด็กที่โตขึ้น จะเหมือนผู้ใหญ่ มักมีอาการปวดท้องเรื้อรัง ที่บริเวณลิ้นปี่ โดยจะรู้สึกปวดมากเวลาหิว บางครั้งก็ปวดเวลาหลับตอนกลางคืน หรือหลังตื่นนอนตอนเช้า และอาการปวดจะลดลง หลังรับประทานอาหารเข้าไป
ผู้ป่วยที่มีอาการ ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคกระเพาะอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อจะได้รับการตรวจวินิจฉัยที่แน่นอน ถ้าหากเป็นโรคกระเพาะจริง ๆ การรักษาตั้งแต่เริ่มต้น จะง่ายกว่าการรักษาเมื่อเป็นเรื้อรัง
วิธีป้องกันไม่ให้เป็นโรคกระเพาะอาหาร เท่าที่ทุกท่านพอจะทำได้ คือ หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวด ประเภทแอสไพริน, หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด, น้ำอัดลมทุกชนิด ในกรณีของเด็ก ๆ ความสัมพันธ์ที่อบอุ่นภายในครอบครัว จะช่วยในการรักษาโรคนี้ทางอ้อมได้ส่วนหนึ่งเหมือนกัน
No comments:
Post a Comment