การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้น แม้ว่ามีการใช้ถุงยางอนามัย เกิดจากการที่ไม่ใช้ทุกครั้ง หรือใช้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่พบว่าเกิดจากปัญหาของถุงยางอนามัยโดยตรงเลย สำนักงานอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกาเคยทำการวิจัยครั้งใหญ่ พบว่าถุงยางอนามัยที่ได้ผลิตมาจากโรงงานที่ได้มาตราฐาน จะไม่มีปัญหาที่น้ำอสุจิหลุดลอดออกมาเลยแม้แต่น้อย
หัวใจสำคัญในเรื่องการใช้ถุงยางอนามัย จึงมีสองประการ คือ ต้องใช้ทุกครั้ง และใช้อย่างถูกต้อง
ถุงยางอนามัยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เรียกว่า latex condom หรือ latex rubber condom ย้อนไปเมื่อประมาณปี 1980-1985 พบว่า การใช้ถุงยางอนามัยไม่เป็นที่นิยม ส่วนใหญ่เป็นการใช้เพื่อคุมกำเนิด ป้องกันการตั้งครรภ์ แม้ว่าจะทราบกันมาตั้งแต่สมัยโรมันแล้วว่า การใช้ถุงยางอนามัยสามารถป้องกันโรคดิดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แต่แนวความคิดนี้ยังไม่แพร่หลาย จนกระทั่งเมื่อเริ่มมีการระบาดของโรคเอดส์ ถึงมีการรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัยกันอย่างกว้างขวาง และถือเป็นมาตราการที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดอย่างหนึ่ง
ถุงยางอนามัยยุคแรกสุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ ทำมาจากผ้าทอ ซึ่งไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ และไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคได้ ต่อมาได้พัฒนาการผลิต หันมาใช้ไส้แกะ ซึ่งก็ดีขึ้นบ้างแต่ประสิทธิภาพยังต่ำอยู่ จนถึงยุคสมัยที่นำยางมาใช้ในแวดวงอุตสาหกรรม เมื่อประมาณปี 1930 ถุงยางอนามัยจึงเริ่มเป็นอุปกรณ์ลักษณะแผ่นยาง ที่ทำจากสารสังเคราะห์ของยาง และพลาสติก ปัจจุบันมีการผลิตถุงยางอนามัยจากสารโปลียูรีเธนมากขึ้น
หลักการใช้ถุงยางอนามัย
ถุงยางอนามัยใช้สวมใส่อวัยวะเพศชาย เมื่อแข็งตัวเต็มที่ ทำหน้าที่เป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้ตัวเชื้ออสุจิเข้าสู่ช่องคลอด ที่ปลายถุงยางอนามัย จะมีกระเปราะเล็ก ๆ สำหรับรองรับน้ำอสุจิ
วิธีใช้ถุงยางอนามัย
- ผู้ที่ใช้ต้องใส่ และถอดให้ถูกวิธี โดยให้ใส่ เมื่ออวัยวะเพศแข็งตัวเต็มที่เท่านั้น
- บีบปลายกะเปาะไล่ลม แล้วสวมลงบนอวัยวะเพศ รูดลงมาจนสุด
- เมื่อเสร็จการร่วมเพศ ต้องรีบดึงอวัยวะเพศออก ขณะยังแข็งตัวอยู่ มิฉะนั้นถุงยาง อาจจะหลุดอยู่ในช่องคลอดได้
- ต้องดึงออก โดยมิให้น้ำอสุจิไหลออกมาอยู่บริเวณอวัยวะเพศหญิง
- มีถุงยางอนามัยสำรอง เตรียมพร้อมไว้เสมอ
ในต่างประเทศบางแห่ง หลักการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของ การเรียนรู้วิชาเพศศึกษาที่ถูกต้องในโรงเรียน
ปัญหาที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยที่ไม่ถูกต้อง
- ใช้สารหล่อลื่นไม่ถูกต้อง ทำให้ถุงยางแตก หรือลื่นหลุด
- ไม่ใช้ถุงยางอนามัยใหม่แกะกล่อง
- ใช้ถุงยางเพียงครั้งแรกเท่านั้น เมื่อมีเพศสัมพันธ์ต่อไป ไม่ได้ใช้ถุงยาง
- ใช้ถุงยางอนามัยที่เสื่อมสภาพอย่างเห็นได้ชัด
- มึนเมาสุรา หรือสารเสพติด จึงตัดสินใจถอดถุงยางทิ้งกลางคัน
- แกะถุงยางอนามัยออกมาเล่น ก่อนมีเพศสัมพันธ์
- ใส่ถุงยางผิดด้าน แล้วนำกลับมาใช้ใหม่
- สำหรับผู้ที่ไม่ได้ขลิบปลายอวัยวะเพศ ต้องดึงหนังหุ้มรูดให้สุดเสียก่อน
การเก็บรักษา
ถุงยางอนามัยควรเก็บรักษาไว้ในที่ไม่ถูกแสงแดด หรือที่มีอุณหภูมิสูง
ความสามารถในการป้องกันการตั้งครรภ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ถุงยางอนามัยสามารถกีดขวาง ไม่ให้ตัวเชื้ออสุจิ และเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ เข้าสู่ช่องคลอดได้ดังต่อไปนี้
- ตัวเชื้ออสุจิ (spermatozoa) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.003 มิลลิเมตร หรือ 3000 นาโนเมตร
- เชื้อก่อโรคซิฟิลิส (Treponema pallidum) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 600 นาโนเมตร
- เชื้อก่อโรคหนองใน (Neisseria gonorrhoeae) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 800 นาโนเมตร
- เชื้อก่อโรคหนองในเทียม (C. trachomatis) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 200 นาโนเมตร
- เชื้อไวรัสเอดส์ (HIV) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 125 นาโนเมตร
- เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี (hepatitis B virus) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 นาโนเมตร
ที่มา
นพ. วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
สวัสดีครับ
ReplyDeleteผมเคยได้ยินเพื่อนผม(ผู้ชาย)ครับ เค้าใช้
ถุงยางอนามัยแล้วมีอาการแพ้ด้วยครับ
ผมก็ไม่ทราบสาเหตุเหมือนกันก็เลยแนะนำ
ให้เค้าลองยี่ห้ออื่นดู แต่ก็เห็นเค้าบอกว่า
ถุงยางยี่ห้ออื่นเค้าก็ยังคันอยู่เลย
อย่างนี้ทำอย่างไรดีครับผม
ขอบคุณมากครับ คุณ Boon forever
วัยรุ่นในประเทศไทยไม่ค่่อยตระหนักถึงผลที่ตามมาของการไม่ใช้ถุงยางอนามัย พวกเราต้องรวมด้วยช่วยกัน ให้ข้อมูลและแนะนำครับ
ReplyDeleteและเว็บคุณก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดี
เยี่ยม
ก็เห็นด้วยนะ เพราะไม่คิดว่าตอนนี้อะไรมันจะมาช่วยป้องการโรคติดต่อ
ReplyDeleteที่เกิดจากการร่วมเพศได้แบบนี้แล้ว
ยังงัยก็มีเพศสัมพันธ์กันก็ใส่ถุงยางอนามัยป้องกันด้วยนะคร้าบ