Search This Blog

Monday, August 31, 2009

นอนไม่หลับ

ความต้องการในการนอนหลับพักผ่อนของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ อายุ สภาพร่างกาย และสุขภาพโดยทั่วไป ตัวอย่าง เช่น คนที่มีอายุน้อยจะต้องการนอนหลับพักผ่อนมากกว่าผู้สูงอายุ สภาพร่างกายคนบางคนพักผ่อนน้อยก็สดชื่นทำงานได้ดี และในคนที่สุขภาพไม่ดี มีโรคทางกายก็ต้องการการพักผ่อนมากกว่าคนที่สุขภาพดีกว่า เป็นต้น

โดยทั่วไปผู้คนส่วนใหญ่จะใช้เวลานอนหลับพักผ่อนเป็นเวลาประมาณ 7 - 8 ชั่วโมง เมื่อตื่นขึ้นก็สดชื่น พร้อมที่จะทำงาน และไม่ต้องการนอนพักผ่อนตอนกลางวันอีก อย่างไรก็ตามบางคนอาจจะต้องการเวลานอนน้อยหรือมากกว่านั้น บางคนนอนเพียงหกชั่วโมงครึ่ง ก็พักผ่อนเพียงพอ แต่บางคนอาจต้องนอนนานกว่าแปดชั่วโมงครึ่ง บางคนอาจนอนดึกและตื่นสายเป็นประจำ ในขณะที่บางคนเข้านอนแต่หัวค่ำ และตื่นแต่เช้าตรู่

นักวิจัยศึกษาพบว่า โดยทั่วไปคนปกติจะหลับภายใน 10 - 15 นาทีหลังจากล้มตัวลงนอน ส่วนใหญ่มักจะไม่ตื่นขึ้นเลยในตอนดึก นั่นคือ นอนหลับรวดเดียวจนถึงรุ่งเช้า แต่ถ้าตื่นขึ้นมาบ้าง ก็จะหลับต่อได้ในชั่วเวลาเพียงไม่กี่นาที การนอนไม่หลับไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะ หรืออาการที่เกิดขึ้นร่วมกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ที่ทำให้ เครียดหรือไม่สบายใจ ความผิดปกติทางกายหรือจิตใจ หรือสภาพแวดล้อมบางอย่าง เช่น การแปลกสถานที่ เป็นต้น

บางคนสงสัยว่า เมื่อใดจึงจะเรียกว่า มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ โดยทั่วไปมีข้อสังเกตง่าย ๆ ว่า เมื่อรู้สึกว่านอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หรือหลับไม่พอเป็นเวลา 3 วันในหนึ่งสัปดาห์ ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน และรู้สึกวิตกกังวลต่ออาการที่เกิดขึ้นร่วมกับหน้าที่การทำงานที่แย่ลง ก็จะถือว่านอนไม่หลับเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข

การนอนไม่หลับแบบชั่วคราว หมายถึง นอนไม่หลับติดต่อกันเป็นหลายวัน แต่ไม่ถึงหลายสัปดาห์ คนไม่น้อยอาจจะเคยประสบกับปัญหาเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของความเครียด หรือความกังวลใจต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เช่น ทะเลาะกับเพื่อนหรือแฟน มีปัญหากับที่ทำงาน หรือใกล้ ๆ วันสอบ หรือวันที่ต้องมีธุระสำคัญ เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วอาการจะดีขึ้นเองภายในไม่กี่วัน หรือในบางรายอาจต้องใช้ยานอนหลับช่วยในระยะสั้น ๆ พออาการดีขึ้นก็หยุดยาได้

การนอนไม่หลับแบบระยะต่อเนื่อง หมายถึง อาการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นนั้น มันเป็นอย่างต่อเนื่อง เป็นสัปดาห์ ๆ ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหายหรือดีขึ้น ส่วนใหญ่มักเป็นผลจากความเครียด หรือเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดนั้นยังไม่คลี่คลาย เช่น การตกงาน ปัญหาเศรษฐกิจเงินทอง รวมถึงปัญหาครอบครัว โดยทั่วไปถ้าปัญหาต่าง ๆ ได้รับการคลี่คลาย การนอนหลับก็มักจะกลับมาเป็นปกติได้ อย่างไรก็ตาม ทางที่ดีผู้ที่มีอาการเหล่านี้ ควรได้รับคำปรึกษาแนะนำจากแพทย์ ว่ามีแนวทางอย่างไรที่จะช่วยปัญหาการนอนหลับ ของตน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื้อรัง

ผู้ที่นอนไม่หลับแบบเรื้อรัง จะมีปัญหาในการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่องเกือบทุกคืน ติดต่อกันหลายเดือน หรือแม้กระทั่งเป็นปี สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการก็จะเริ่มซับซ้อนมากขึ้น ไม่ตรงไปตรงมาเพียงแค่ว่าเครียดแล้วนอนไม่หลับ หลายครั้งที่ความเครียดได้เบาบางหรือหายไปหมดแล้ว แต่อาการนอนไม่หลับกลับยังดำเนินอยู่ต่อ บางคนใจจดใจจ่อตลอดเวลาว่าคืนนี้จะหลับหรือไม่หลับ
ถ้าไม่หลับแล้วพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร จะทำงานได้อย่างแจ่มใสหรือไม่ ทำให้เกิดความรู้สึกกลัวการนอน ไม่กล้าที่จะนอน เลยทำให้แทนที่เวลานอนจะเป็นเวลาที่ให้ความสุข กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่มีแต่ความทุกข์และทรมาน

นอกจากนี้แล้วยังพบได้อยู่เรื่อย ๆ ว่า สาเหตุทางร่างกายบางอย่างก็เป็นต้นเหตุ ทำให้นอนไม่หลับเรื้อรังได้ เช่น การหายใจผิดปกติขณะหลับ กล้ามเนื้อขากระตุกเป็นพัก ๆ ระหว่างนอน อาการปวดหรือแม้กระทั่งผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือโรคปอด เป็นต้น

image การนอนไม่หลับเกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุของการนอนไม่หลับ เกิดจากปัจจัยทางกาย ทางจิตใจ และสภาพแวดล้อมของการนอน

ปัจจัยทางกาย ได้แก่ โรคที่ทำให้มีอาการเจ็บปวดมาก หายใจไม่สะดวก หรือผลจากยา และสารกระตุ้นบางอย่าง เช่น กาแฟ ปัจจัยทางจิตใจ ได้แก่ เหตุการณ์ในชีวิตที่เกิดขึ้น อาจเป็นเรื่องที่ทำให้เสียใจ ไม่สบายใจ หรือเป็นอาการเริ่มแรกของโรคทางจิตบางอย่าง ส่วนสภาพแวดล้อมของการนอน ได้แก่ สภาพห้องนอน หรือการแปลกต่อสถานที่ก็อาจทำให้นอนไม่หลับได้

อาการปวด ไม่ว่าจะเป็นจากอาการปวดกระดูก ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดจากสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ จะรบกวนคุณภาพและประสิทธิภาพการนอนหลับอย่างมาก

การหายใจผิดปกติระหว่างหลับ พบได้บ่อยทีเดียวว่า สาเหตุของนอนไม่หลับเรื้อรังนั้น เป็นจากกลุ่มอาการหายใจผิดปกติในขณะหลับ หรือหยุดหายใจเป็นพัก ๆ ในขณะหลับ ทำให้สมองขาดออกซิเจนเป็นพัก ๆ เปรียบเหมือนกับคนถูกรัดคอเป็นพัก ๆ ทำให้ต้องรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาเพื่อหายใจซ้ำ ในหลายครั้ง ตนเองนั้นอาจจะจำไม่ได้ หรือไม่รู้สึกตัวตื่นในขณะที่สมองต้องตื่นขึ้นมา เพื่อหายใจ
อาจรู้สึกแต่เพียงว่า เมื่อคืนที่ผ่านมานอนหลับได้ไม่ดีพอ หลับได้ไม่ลึก ไม่สดชื่น อาการหยุดหายใจที่กล่าวมานั้นจะเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ อาจจะเป็นหลายสิบ จนกระทั่งถึงหลายร้อยครั้งได้ในแต่ละคืน

ขากระตุกเป็นพัก ๆ ระหว่างหลับ ในบางรายจะพบว่าในขณะที่หลับนั้น กล้ามเนื้อที่ขาจะมีอาการกระตุกเร็ว ๆ เป็นพัก ๆ ได้ ส่วนใหญ่แล้วจะประมาณทุก ๆ 30 - 45 วินาที และอาจจะต่อเนื่องเป็นชั่วโมง หลายรอบต่อคืน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ จะทำให้สมองตื่นเป็นพัก ๆ โดยที่คนผู้นั้นอาจไม่รู้สึกตัวตื่น ผลในตอนเช้าก็คือ จะรู้สึกว่าคืนที่ผ่านมานอนหลับได้ไม่ดี

บางคนนอนไม่หลับเนื่องจากใจไม่สงบ หรือจิตไม่มีสมาธิ ใจไม่สงบก็เพราะใจมันไปยึด ห่วง กังวล วิตก ทุกข์ ร้อน กลัว เกลียด โกรธ โลภ หลง ฯลฯ ไม่อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็หลาย ๆ อย่างผสมกัน แล้วฝังแน่นอยู่ในส่วนลึกของจิต จนเกิดความเครียดขึ้นมาในจิตใจ โดยที่บางครั้งก็ไม่รู้ตัวว่าเกิดจากอะไร พึงระลึกไว้เสมอว่าไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ ที่จะเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ การแก้ปัญหาการนอนไม่หลับก็เช่นเดียวกัน จะแก้ให้เด็ดขาด ต้องค้นหาให้พบต้นเหตุก่อน แล้วขจัดสาเหตุเสีย

ลักษณะอาการที่พบร่วมกับอาการนอนไม่หลับ

นอนไม่หลับมักพบร่วมกับอาการของความเครียด ความไม่สบายใจ และเมื่อเริ่มนอนไม่หลับ เราก็มักจะเริ่มรู้สึกกลัวการนอนไม่หลับ หมกมุ่นเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ พยายามบังคับให้ตนเองนอนให้หลับ โดยปกติการนอนเป็นธรรมชาติ บังคับไม่ได้ ทำให้การนอนในคืนถัดไปแย่ลง จากความกังวลของเราเอง เกิดเป็นวงจรที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การนอนไม่หลับรุนแรงมากขึ้น ถึงแม้บางครั้งสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับจะหมดไปแล้วก็ตาม

ผลเสียต่อสุขภาพ

การนอนไม่หลับจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย และจิตใจ อาจทำให้เกิดโรคทางกาย หรือทำให้โรคทางกายแย่ลง ส่วนทางจิตใจก็จะทำให้เกิดความไม่สบายใจ ความเครียด ไม่มีสมาธิในการทำงาน กลัวว่าจะเป็นโรคร้ายแรง หรือกลัวการนอนไม่หลับได้

ผู้ที่นอนไม่หลับควรมาพบแพทย์ เมื่อการนอนไม่หลับเกิดเป็นปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น เพราะการที่มาพบแพทย์เร็ว จะทำให้พบสาเหตุโดยเร็ว การรักษาจะง่ายขึ้นถ้าปล่อยให้เป็นมาก การรักษาจะยากขึ้น หรือถึงแม้ว่าจะไม่มีโรคใด ๆ ก็ตาม ก็จะได้รับคำแนะนำการปฏิบัติ เกี่ยวกับการนอนหลับที่ถูกต้อง ทำให้ป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคตได้

ปัญหาความไม่สบายใจเพียงเล็กน้อย แล้วทำให้นอนไม่หลับ อาจนำไปสู่ปัญหาการนอนไม่หลับที่รุนแรง และการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องได้อย่างมาก การมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และแก้ไขโดยเร็วตั้งแต่แรก จะทำให้ปัญหารุนแรงน้อยลง รวมทั้งป้องกันปัญหาการนอนไม่หลับในอนาคตได้ด้วย

การปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอน

  • ตื่นนอนให้เป็นเวลา ถึงแม้จะนอนได้น้อยเพียงใดก็ตาม การตื่นนอนตรงเวลาจะทำให้ร่างกายปรับวงจรการนอนปกติได้ในคืนถัดไป จะทำให้หลับได้ง่ายขึ้นเอง
  • จัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้ดี เช่น อากาศที่ไม่ร้อน หรือหนาวเกินไป เสียงไม่ดังเกินไป แสงต้องไม่สว่างมากเกินไป
  • ใช้เตียงนอนเพื่อการนอนเท่านั้น ห้ามใช้ทำกิจกรรมอื่น เช่น อ่านหนังสือ หรือทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ควรจะนอน ก็ต่อเมื่อรู้สึกง่วง ถ้านอนไม่หลับใน 10 นาที ให้ลุกจากเตียงไปทำกิจกรรมที่สบายใจ เมื่อง่วงจึงมานอนใหม่
  • ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอทุกวันในตอนเย็น ห้ามออกกำลังกายก่อนนอน เพราะคิดว่าจะทำให้เพลียหลับง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้หลับยากขึ้นกว่าเดิม จากการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในผู้สูงอายุนั้น มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับที่ดีขึ้น
  • งดสารกระตุ้นหลังเที่ยงวัน เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม การดื่มเหล้าเบียร์ ทำให้หลับง่ายตอนแรก แต่จะทำให้หลับไม่สนิท
  • การอาบน้ำอุ่น ดื่มนมอุ่น ๆ การผ่อนคลายต่าง ๆ เช่น การทำสมาธิ การบังคับจังหวะลมหายใจเข้าออก การสะกดจิตตนเอง ช่วยให้หลับง่ายขึ้น และหลับสบาย
  • ถ้ารับประทานอาหารก่อนเข้านอน อย่าให้หนักท้องมาก หรือตรงข้ามอย่าปล่อยให้หิวมากก่อนเข้านอน เพราะความหิว หรืออึดอัดแน่นในท้องจากอิ่มมากไป ก็รบกวนการนอนของได้
  • การรับประทานนม หรือกล้วย อาจทำให้การนอนของท่านดีขึ้น เพราะอาหารเหล่านี้มีสารทริปโทแฟน ซึ่งช่วยในการนอนหลับ
  • อย่าบังคับให้นอนหลับ เพราะบังคับไม่ได้ หรืออย่าคิดว่า การนอนคืนนี้จะเหมือนคืนก่อน จะทำให้เกิดความกังวลมาก ทำให้หลับยากขึ้น
  • ไม่ควรนอนชดเชยตอนกลางวัน จะทำให้นอนไม่หลับตอนกลางคืน แต่ถ้าจะมีการงีบหลับในช่วงบ่าย อาจจะจัดเวลางีบหลับให้เป็นประจำสม่ำเสมอ โดยไม่ควรเกิน 1 - 2 ชม. และไม่ควรงีบหลับหลัง 15.00 น. เพราะอาจมีผลต่อการนอนหลับในคืนนั้น ๆ ได้
  • ควรระมัดระวังเรื่องการใช้ยานอนหลับ ไม่ควรใช้ยานอนหลับอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะการใช้ยานอนหลับอย่างต่อเนื่องในระยะหนึ่งนั้น จะไปมีผลรบกวนต่อสรีรวิทยาการนอนหลับที่เป็นปกติได้ อาจทำให้ติดยา และเมื่อหยุดยาจะทำให้นอนไม่หลับมากขึ้นกว่าเดิม
  • บางคนกังวลเรื่องการนอนมากเกินไป คิดไปเองว่ามีปัญหา โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่นอนได้น้อยลง เกรงว่า จำนวนชั่วโมงที่นอนหลับจะน้อยเกินไป ปกติทารกแรกเกิดนอนวันละ 20 ชั่วโมง หนุ่มสาวต้องการเพียง 7 - 8 ชั่วโมง และเมื่อเข้าวัยกลางคนต้องการเวลานอนเพียง 4 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 5 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น

Sunday, August 30, 2009

นั่งไขว้ห้าง

กระดูกสันหลังมีความสำคัญต่อบุคลิกภาพ มาดู 10 วิธีที่คุณอาจเคยทำและไม่รู้ว่ามันทำร้ายกระดูกสันหลังของคุณมาบอกกัน

  • การนั่งไขว่ห้าง จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กระดูกคด
  • การนั่งกอดอก จะทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปข้างหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรงหรือชาได้
  • การนั่งหลังงอ หลังค่อม เช่น การอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ติดต่อกันนานๆเป็นชั่วโมง จะทำกล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรด แล็คติค มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา
  • การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น จะทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก เพราะฐานในการรับน้ำหนักตัว
  • การยืนพักขาลงน้ำหนัก ด้วยขาข้างเดียว การยืนที่ถูกต้อง ควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพก จึงจะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย
  • การยืนแอ่นพุง / หลังค่อม ควรยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อยเพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่น และทำให้ไม่ปวดหลัง
  • การใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง จะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง
  • การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว ไม่ควรสะพายกระเป๋าหนักข้างใดข้างหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋า โดยใช้ร่างกายทั้ง 2 ข้างให้เท่าๆกัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอด เพราะจะทำให้เกิดการทำงานหนักอยู่ข้างเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้
  • การหิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ
  • การขดตัว / นอนตัวเอียง ท่านอนหงายเป็นท่านอนที่ถูกต้องที่สุด ควรนอนให้ศีรษะอยู่ในแนวระนาบ หมอนหนุนต้องไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่า เพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล่าง หากจำเป็นต้องนอนตะแคงให้หาหมอนข้างกาย โดยก่ายให้ขาทั้งหมดอยู่บนหมอนข้าง เพื่อรักษาแนวกระดูกให้อยู่ในแนวตรงการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันอาการปวดหลัง

หลังของคนเราต้องทำงานตลอด 24 ชม. ไม่ว่าจะเป็นเวลานั่ง นอน เดิน ทำไรก็แล้วแต่ ดังนั้นเราจึงควรปฏิบัติ เพื่อป้องกันอาการปวดหลัง ดังนี้

1. การทำงานที่ต้องก้มๆ เงยๆ

-ให้ใช้วิธีย่อเข่าแทนการก้มหลังเพื่อการทำงาน

2. การยกของ

-ย่อเข่าลงให้ใกล้ของที่จะยกมากที่สุด จับสิ่งที่จะยกให้มั่นคง

-เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องขณะยกของขึ้น

-ห้ามก้มและบิดเอี้ยวตัวขณะยกของ

-ทางที่ดีควรว่างของไว้บนโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่ที่มีระดับความสูงเหมาะสม เพื่อช่วยทุ่นแรง

3. การเคลื่อนย้ายสิ่งของ

-ใช้รถเข็นช่วยในการเคลื่อนย้าย และหลีกเลี่ยงการลากจูงรถ เนื่องจากจะทำให้ต้องก้มตัว

-ดันรถเข็นโดยใช้แรงจากกล้ามเนื้อแขนพร้อมรักษาแนวของหลังให้ตรงขณะดันรถไปข้างหน้า

4. การหยิบของในที่สูง

-หลีกเลี่ยงการเอื้อมหยิบของสุดปลายมือ

-ใช้เก้าอี้ช่วยเสริมความสูงและเข้าไปให้ใกล้กับของที่จะหยิบมากที่สุด

-เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องขณะยก

5. การทำงานที่เกี่ยวกับการหมุน

-หลีกเลี่ยงการทำงานโดยบิดเอี้ยวลำตัวให้ใช้แรงจากกล้ามเนื้อแขนและขาในการทำงาน

-ย่อเข่าหรือนั่งลงใกล้ๆ สิ่งที่จะหมุนและรักษาแนวหลังให้ตรง

6. การขับรถ

-เบาะรถควรรองรับแผ่นหลังทั้งหมด

-ใช้หมอนเล็กๆหนุนหลังบริเวณเอว เพื่อรักษาส่วนโค้งของแนวกระดูกสันหลังส่วนเอว

-เวลานั่ง เข่าควรสูงกว่าระดับข้อสะโพกเพียงเล็กน้อย

7. การนอน

-ที่นอนควรจะแข็งพอสมควรไม่เป็นแอ่ง

-หลีกเลี่ยงการนอนบนโซฟา หรือเตียงผ้าใบเป็นเวลานาน

-หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำท่านอนที่ถูกต้องควรเป็นดังรูป

8. การนั่ง

-ควรเลือกนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงรองรับแผ่นหลังทั้งหมด และมีความโค้งรองรับแนวของกระดูกสันหลังช่วงเอว หรือหาหมอนเล็กๆมาหนุนหลัง

-ขณะทำงานควรเลื่อนเก้าอี้เข้าใกล้โต๊ะทำงานมากที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการก้มตัว

-เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ

9. การยืน

-ยืนให้หลังอยู่แนวตรง

-ถ้าทำงานในท่ายืนควรหาที่พักเท้า เช่น ม้านั่งเตี้ยๆ กล่องไม้เล็กๆ เป็นต้น

-เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ

การออกกำลังกายเพื่อป้องกันอาการปวดหลัง ข้อควรปฏิบัติในการออกกำลังกาย

1. เคลื่อนไหวในแต่ละท่าอย่างช้าๆ ห้ามกระชาก หายใจเข้าออกตามปกติ ระวังอย่ากลั้นหายใจ

2. อย่าฝืนหรือหักโหมเกินไป

3. ไม่ควรให้มีอาการปวดหรือเจ็บใดๆ ในขณะที่ออกกำลังกาย

4. เพื่อให้ได้ผลที่ดีควรออกกำลังกายให้เป็นประจำ และสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที

5. ให้ทำท่าละ10 ครั้ง ควรเริ่มต้นด้วยท่ายืดกล้ามเนื้อและจบด้วยท่ายืดกล้ามเนื้อทุกครั้ง

ท่ายืดกล้ามเนื้อหลัง

1. นั่งบนเก้าอี้ เท้าวางราบกับพื้นผ่อนคลายคอ หลัง พร้อมก้มตัวลงช้าๆ ให้มือแตะพื้นค้างในท่านี้ 5 -10 วินาที ค่อยๆ เงยหน้าขึ้นช้าๆ สู่ท่าเริ่มต้น

2. นั่งให้ฝ่าเท้าชนกัน ผ่อนคลายคอและหลัง พร้อมกับก้มตัวเหยียดมือไปข้างหน้าช้าๆ ค้างไว้ 5 -10 วินาที ถ้าตึงบริเวณต้นขาด้านในมากไป ให้เหยียดขาออกไปด้านหน้าได้อีก

3. นั่งเหยียดขาไปกับพื้น ยกเท้าขวาไขว้ไปวางด้านนอกไว้ ค่อยๆ หมุนตัวไปด้านขวามือขวาท้าวไปด้านหลัง ให้รู้สึกว่ากล้าเนื้อลำตัวด้านซ้ายตึง ค้างไว้ 5-10 นาที

4. นอนหงาย ค่อยๆดึงเข่าทั้ง 2 ข้าง มาชิดอกช้าๆ ค้างไว้ 10 วินาที จะรู้สึกตึงบริเวณส่วนล่าง หากมีอาการปวดเข่า ให้สอดมือทั้ง 2 ข้าง ตรงบริเวณข้อพับเข่า

ท่าออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อหลัง

1. นอนหงาย ชันเข่า 2 ข้างเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง กดหลังให้ติดกับพื้นมากที่สุดค่อยๆยกศีรษะและไหล่ขึ้นค้างไว้ 5 วินาที

2. นอนคว่ำมือข้างลำตัว ยกศีรษะและไหล่ขึ้นค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นค่อยๆวางลง

3. นอนคว่ำ แขนยื่นออกไปด้านหน้าเล็กน้อย ดันแขนยกตัวขึ้นให้สะโพกติดพื้นค้างไว้ 5-10 วินาที

4. นอนหงาย ตั้งเข่าสองข้างขึ้นมือสองข้างวางข้างลำตัวเท้าสองข้างยันพื้นยกกันขึ้นค้างไว้ 5 วินาที

5. นั่งเก้าอี้ไม่มีพนักพิง หลังติดกำแพง ยกมือสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ ยืดตัวดันหลังต้านกำแพงค้างไว้ 5-10 วินาที

6. ยืนตรงแขนทั้ง 2 ข้างทิ้งข้างลำตัว ยกแขนซ้ายขึ้นเหนือศีรษะ เอนตัวไปด้านขวาค้างไว้ 3 วินาที แล้วกับมายืนในท่าเริ่มต้นสลับทำอีกข้าง

7. ยืนตรงมือทั้ง 2 ข้าง ยันค้ำไว้ด้านหลังบริเวณเอว เอนตัวไปข้างหลังเล็กน้อย ค้างไว้ 3 วินาที

8. นั่งประสานมือ แขน 2 ข้างกางออกไประดับไหล่ หลังเหยียดตรงค่อยๆหมุนลำตัวและศีรษะ จากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งเท่าที่สามารถจะทำได้ โดยทำทั้ง 2 ข้าง

Friday, August 28, 2009

การดื่มน้ำเมื่อท้องว่าง ได้ประโยชน์อย่างที่คิดไม่ถึง !!

การดื่มน้ำเ มื่อท้องว่างผ่านกระเพาะอาหาร เพื่อรักษาสุขภาพที่ดี ในประเทศญี่ปุ่นทุกวันนี้เป็นที่นิยมดื่มน้ำทันที หลังจากตื่นนอนตอนเช้า ( ก่อนแปรงฟัน ) เพื่อการรักษาสุขภาพที่ดี

มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ พบว่าน้ำสามารถใช้ชะลอความแก่ และสามารถบำบัดรักษาโรคเหล่านี้ ได้ผล 100% (แบบค่อยเป็นค่อยไป ต้องใช้ระยะเวลา) ปวดหัว ปวดตามตัว โรคระบบหัวใจ โรคไขข้ออักเสบ โรคหัวใจเต้นเร็ว โรคลมบ้า หมู โรคอ้วน โรคหลอดลมอักเสบ โรคหืด วัณโรคอาการ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ โรคไตและยูริก โรคแสลง คลื่นไส้ต่างๆ โรคกระเพาะ โรคท้องร่วง โรคริดสีดวงทวาร โรคเบาหวาน โรคอาการท้องผูก โรคตา โรค ภายในสตรีมะเร็ง รอบเดือนไม่ปกติ โรคคอ หู จมูก

วิธีการปฏิบัติ

1. ตื่นนอนตอนเช้า ก่อนแปรงฟัน ให้ดื่มน้ำ 4 แก้ว (640 ซีซี)

2. หลังจากนั้นสามารถและล้างหน้าอาบน้ำได้ แต่ต้องไม่ดื่ม หรือรับประทานอะไร จนกว่า 45 นาทีผ่านไป จึงจะรับประทานได้ตามปกติ

3. หลังรับประทานอาหารเช้า กลางวัน เย็น ไปแล้ว 15 นาที ไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอะไรจนกว่า 2 ชั่วโมงผ่านไป

4. ผู้ป่วยหรือคนชราที่ไม่สามารถดื่มน้ำ 4 แก้ว ก็ให้ค่อยๆดื่มค่อยเป็นค่อยไปเรื่อยๆ จนได้ครบ 4 แก้ว

ข้อปฏิบัติ 4 ข้อดังกล่าว

จะทำให้ท่านบำบัดรักษาโรคที่เป็นอยู่ค่อยๆเบาและหายขาดได้ในที่สุด ทำให้ คุณภาพชีวิตดีขึ้น และไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่อาจปัสสาวะบ่อยขึ้น และหลังดื่มน้ำไปแล้ว ประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง จะปวดปัสสาวะ

จากสถิติข้อมูลโรคที่บำบัดรักษา ทำให้หายได้ภายในเวลา ดังนี้

1. โรคความดันโลหิตสูง 30 วัน

2. โรคกระเพาะ 10 วัน

3. โรคเบาหวาน 30 วัน

4. โรคท้องผูก 10 วัน

5. โรคมะเร็ง 180 วัน

6. โรควัณโรค 90 วัน

7. โรคไขข้ออักเสบจะเห็นผลภายใน 3 วัน

นกเขาไม่ขัน ทำไงดี???

อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจัดเป็นเรื่องใหญ่ของผู้ชาย มีผลไม้หลายชนิดที่ช่วยได้

นักวิทย์พบสารประกอบในแตงโมมีสรรพคุณคล้ายยารักษาอาการ " นกเขาไม่ขัน " ช่วยหลอดเลือดขยายตัว ที่ผ่านมามีนักวิจัยศึกษาคุณสมบัติพิเศษของแตงโมกันมาบ้างแล้ว และยิ่งศึกษามากขึ้นเท่าไร ยิ่งพบว่ากินแตงโมแล้วมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้นเท่านั้น

ดร.พิมู ปาติล ผู้อำนวยการศูนย์ปรับปรุงพันธุพืช และผลไม้เทกซัส เอแอนด์เอ็ม ในมลรัฐเทกซัส สหรัฐ บอกว่า แตงโม และผักผลไม้อีกหลายชนิดมีสารที่เรียกว่า ไฟโตนิวเตรียนท์ หรือพูดให้ฟังดูเป็นภาษาไทยว่า พฤกษเคมี เป็นสารประกอบทางเคมี ที่ได้จากธรรมชาติกระตุ้นการตอบสนองของร่างกายให้มี สุขภาพแข็งแรง

สารประกอบพฤกษเคมีพบในแตงโมประกอบด้วย ไลโคปีน เบต้า แคโรทีน และดาวเด่นที่สุดคือ ซิทรูไลน์ (citruline) เป็นกรดอัลฟ่า อะมิโน คำว่า ซิทรูไลน์มาจากภาษาละตินว่า ซิทรูลัส (citrulus) แปลว่า แตงโม สารดังกล่าวถูกสกัดได้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2473 นักวิจัยพยายามไขความลับของสารซิทรูไลน์จนพบว่า สารเคมีชนิดนี้ช่วยขยายเส้นเลือด คล้ายกับการทำงานของยารักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

นักวิทยาศาสตร์รู้กันมาพักหนึ่งแล้วว่า หลังจากสวาปามแตงโมเข้าไปแล้ว ซิทรูไลน์จะเปลี่ยนไปเป็นอาร์กิไนน์ โดยมีเอ็นไซม์ชนิดหนึ่งเป็นตัวช่วยย่อย อาร์กิไนน์เป็นกรดอะมิโน ที่ช่วยการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต หัวใจ และบำรุงระบบภูมิคุ้มกัน

ซิทรูไลน์กับอาร์กิไนน์มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน และยังเป็นประโยชน์สำหรับคนเป็นโรคอ้วน และเบาหวานชนิดที่สองด้วย สารอาร์กิไนน์เป็นตัวกระตุ้นไนตริก ออกไซด์ ช่วยขยายหลอดเลือด มีคุณสมบัติพื้นฐานอย่างเดียวกับไวอากร้า กล่าวคือใช้รักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และอาจช่วยป้องกันอาการเสื่อมได้ด้วย

แม้อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจมีปัญหามาจากปัญหาทางอารมณ์และจิตใจด้วย แต่ถ้าได้สารไนตริก ออกไซด์เพิ่ม จะช่วยคนที่ต้องการให้เลือดไหลเวียนคล่องขึ้นได้ และยังช่วยรักษาอาการหลอดเลือดสมองตีบ ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่นกัน

ถึงกระนั้น นักวิจัยยอมรับว่า แตงโมอาจไม่ออกฤทธิ์เฉพาะส่วนกับอวัยวะเหมือนยารักษาอาการหย่อน แต่ข้อดีของมันคือช่วยขยายหลอดเลือดโดยไม่มีผลข้างเคียงจากยา

สรรพคุณของแตงโมยังไม่หมดแค่นั้น สารอาร์กิไนน์ยังช่วยในกระบวนการที่เรียกว่า วัฏจักรยูเรีย โดยช่วยขจัดแอมโมนีย และสารประกอบที่เป็นพิษออกจากร่างกาย

อย่างไรก็ตาม สารซิทรูไลน์ พบมีปริมาณเข้มข้นในเปลือกแตงโมมากกว่าเนื้อ ซึ่งปกติคนไม่กินเปลือกแตงโมกัน ทีมนักวิจัยชุดนี้จึงพยายามหาทางปรับปรุงพันธุ์แตงโมให้มีสารซิทรูไลน์ใน เนื้อแตงโมเข้มข้นขึ้น

ลดเสี่ยงโรคหัวใจด้วยการมีเมีย!!


คนโสดอ่านซะ ! ผลวิจัย มหาวิทยาลัยอริโซนา US บอก คนแต่งงานแล้วทำความเสี่ยงโรคหัวใจในผู้ชายลดลง

การศึกษาใหม่พบว่า การแต่งงานลดการอักเสบหรือภาวะธาตุไฟกำเริบ(ความเสี่ยงจะเป็นโรคหัวใจ)ได้ดีกว่าการเลิกบุหรี่

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอริโซนา US ตรวจเลือดอาสาสมัครอายุ 57-85 ปี 1,715 คน เพื่อตรวจหาระดับสารแสดงการอักเสบ (C-reactive protein / CRP)

การอักเสบ (ธาตุไฟกำเริบ) กระตุ้นให้ตับสร้าง CRP ขึ้น, อักเสบมากสร้างมาก อักเสบน้อยสร้างน้อย

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การมีระดับ CRP สูง มีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจ ซึมเศร้า และสโตรค (stroke = กลุ่มหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต)

ผู้ชายที่แต่งงานแล้ว มี CRP ในเลือดเฉลี่ย 1.16 มก./ลิตร ขณะที่ผู้ชายที่ไม่ได้แต่งงาน มี CRP 2.72 มก./ลิตร

ส่วนผู้หญิงที่แต่งงานกับไม่แต่งงานพบว่า ไม่ต่างกัน

CRP ทำให้ความเสี่ยงโรคหัวใจในผู้ชายลดลง เทียบกับความเสี่ยงอื่นๆ ดังนี้

แต่งงาน > เสี่ยงลดลง 10.34% มีผลเท่ากับการรักษาน้ำหนัก (ไม่อ้วน)

ควบคุมความดันเลือด > ลดเสี่ยง 3.42%

ไม่สูบบุหรี่ > ลด 7.94%

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านต่อไป ทว่า... สอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ว่า มิตรภาพที่ยาวนานมีแนวโน้มจะดีกับสุขภาพ

Thursday, August 27, 2009

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองดูแล้วน่ากลัว ถ้าเป็นแล้วครั้งหนึ่งจะมีความทุพพลภาพ ส่งผลต่อชีวิตและหน้าที่การทำงาน หากไม่ได้รับการดูแลและแก้ไข คนไข้จะมีปัญหาตามมามากมาย ไม่ใช่เกิดขึ้นเฉียบพลันและเป็นตรงนั้น แต่ผลที่ตามมาค่อนข้างสำคัญมาก

"โรคหลอดเลือดสมอง" เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ แต่ส่วนใหญ่หมายถึงหลอดเลือดแดงในสมองซึ่งอาจเกิดภาวะตัน ตีบหรือแตกง่ายกว่า

มองง่าย ๆ เหมือนท่อน้ำขนาดเล็กที่ต่อเข้าสู่แท็งก์ นั่นก็คือ หลอดเลือดที่สูบฉีด เลือดแดงเข้าสู่สมอง ส่วนหลอดเลือดดำ คือ ทางระบายน้ำออก ซึ่งทางระบายน้ำออกจะมาจากท่อใหญ่ความดันไม่สูงมาก ฉะนั้นการเกิดโรคกับหลอดเลือดดำจึงค่อนข้างน้อย

โรคหลอดเลือดสมองแตก ตีบ หรือตัน ที่พูดกันทั่วไปอาการคล้ายกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อสมองที่ถูกกระทบกระเทือน หากว่าเนื้อสมองตรงนั้นควบคุมแขนขา แขนขาจะอ่อนแรง

ถ้าเกี่ยวข้องกับศูนย์การพูด บางคนอาจพูดไม่ได้ ด้านการมองเห็น บางคนอาจมองไม่เห็น หรือเห็นภาพซ้อน

หากเป็นในส่วนอื่น บางทีกระทบการพูด พูดไม่ได้ บางคนพูดแล้วไม่เข้าใจ ถ้าไปโดนส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวอาจจะทรงตัวไม่อยู่ นั่นคืออาการเตือน

"ส่วนใหญ่ปัญหาของผู้ป่วยโรคสมอง หรือประชาชนทั่ว ๆ ไปจะไม่ได้ตระหนักหรือคำนึงถึงอาการว่าเป็นอย่างไร บางทีคิดว่าพูดไม่ชัดเฉย ๆ เป็นเพราะฟันหรือเปล่า หรือมองไม่เห็นไปหาหมอตาหรือเปล่า ถ้ามีอาการต่าง ๆ ซึ่งเป็นอาการเตือน การมาหาหมอเร็วเท่าไหร่จะช่วยได้มาก โดยโรคหลอดเลือดสมองจะเกิดขึ้นกับคนอายุ 45 ปีขึ้นไป และตัวเลขมีแนวโน้มอายุน้อยลงเรื่อย ๆ หากพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวกำลังมีอาการให้รีบมาพบแพทย์ทันที"

ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคหลอดเลือดสมอง มี 2 อย่าง

ปัจจัยแรกเป็นปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้ คือ อายุที่มากขึ้น และต้องระวังหากมีโรคอื่น ๆ ที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด โรคหัวใจ

ปัจจัยที่สองเป็นปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขได้ เช่น คนที่สูบบุหรี่ จะทำให้เส้นเลือดเสียเร็วขึ้น ถ้าปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้รับการแก้ไขหรือลดลง โอกาสเป็นเส้นเลือดสมองจะน้อยลง

สำหรับการดูแลตัวเอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและประสาทวิทยา แนะนำว่า หากจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงอายุเกินกว่า 40 ปี หรือ 45 ปี ต้องเข้ารับการตรวจร่างกายประจำ หากพบความเสี่ยงต่างๆ อย่างน้อยพยายามแก้ไขหรือป้องกัน เช่น มีไขมันสูงต้องควบคุม การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอช่วยได้ แต่อย่าหักโหม

หากมีอาการเบา หวานต้องระวังไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูง โรคหลอดเลือดสมองไม่ใช่เป็นโรคที่รักษาแล้วไม่หายขาด แต่กลับมาดำเนินชีวิตได้ถ้ามีกำลังใจ

โรคภูมิแพ้ (2) เด็ก

จำนวนผู้ป่วยภูมิแพ้กำลังเพิ่มมากขึ้นตามเทรนด์ประเทศที่พัฒนาแล้ว ใครจะคาดคิดว่า พ่อแม่นี่แหละ ...ทำร้ายลูกของตัวเอง..อะไรคือสาเหตุที่แท้จริง

เจ้าตัวร้ายภูมิแพ้อาจ เป็นดัชนีชี้วัดความมีอันจะกินได้ เพราะมันชอบฝังตัวอยู่กับครอบครัวผู้มีฐานะดี มีความเป็นอยู่สะอาด (เกินไป) และปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ภูมิคุ้มกันในเด็กอ่อนแอลง

ย้อนดูสถิติ 5-10 ปีที่ผ่านมา อัตราเด็กป่วยด้วยภูมิแพ้เพิ่มขึ้นถึง 20-30% ทั้งอาการภูมิแพ้อาหาร ผิวหนังอักเสบ หอบหืด และจมูกอักเสบ

ผลสำรวจด้วยแบบสอบถามในปี 2549 พบว่าเด็กขวบปีแรกถึงวัยรุ่นอายุ 18 ปี มีอัตราการภูมิแพ้อาหาร 8% หอบหืด 10-15% และจมูกอักเสบมากถึง 30% สาเหตุเกิดจากปัจจัยทั้งกรรมพันธุ์ 60-70% และสิ่งแวดล้อม 40% และจะทวีความรุนแรงมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่บริโภค ภูมิคุ้มกันในตัว หรือผิวหนังไม่แข็งแรง เป็นต้น

ปัจจุบันนี้ เส้นกราฟผู้ป่วยยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แพทย์และนักวิชาการตะวันตกต่างหัวหมุนศึกษาวิธีรักษาภูมิแพ้อย่างขะมักเขม้น และน่าจะเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจนขึ้นในอีก 3-5 ปีข้างหน้านี้

เราคงต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ลูกน้อยยังร้องอุแว้ แม้อดีตเราจะคุ้นเคยกับการคลอดธรรมชาติมากกว่า แต่ตอนนี้ ว่าที่คุณแม่ยุคใหม่กลับนิยมผ่าคลอดกว่า 80-90% เลยทีเดียว

รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ศิริราชพยาบาล บอกว่า เด็กผ่าคลอดจะไม่ได้รับโพรไบโอติกส์ หรือจุลินทรีย์สุขภาพที่อยู่บริเวณช่องคลอดของมารดา นั่นทำให้ทารกน้อยสูญเสียประโยชน์ที่จะพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของเด็กในช่วงเริ่มแรกของการมีชีวิต

“ถ้าโพรไบโอติกส์มีไม่มากพอ จะเอาอะไรไปต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าไปในร่างกาย หรือกระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้สร้างระบบภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่ตามมาคือ ทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดเลยมีโอกาสเป็นโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้มากกว่าทารกที่คลอดทางช่องคลอด”

ไม่ต้องพึ่งหมอดู ก็ทำนายได้ว่าอีก 10-20 ปีข้างหน้า เยาวชนและวัยรุ่นในเมืองใหญ่จะไม่แข็งแรง และเป็นโรคภูมิแพ้และหอบหืดกันเกลื่อนเมือง

แต่เราก็ยังไม่หวาดกลัวเจ้าภูมิแพ้กันสักนิด เพราะคิดว่ามันเป็นโรคกำเริบเป็นระยะ และเป็นโรครำคาญ แต่เชื่อหรือไม่ว่า เมื่อโตขึ้นจากอาการแพ้อาหารและผิวหนังอักเสบเล็กน้อย อาจลุกลามน่ากลัวถึงขนาดเสียชีวิตได้ (Anaphylaxis)

รศ. พญ. พรรณทิภา ฉัตรชาตรี หัวหน้าหน่วยภูมิแพ้และ ภูมิคุ้มกันวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ก่อนจะไปถึงขั้นเสียชีวิต มันยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาวอีกด้วย

ในวัยแรกเกิดถึง 3 ปีนั้นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของการเรียนรู้สำหรับเด็ก การที่เด็กไม่สบายเป็นไข้หวัด เด็กจะเบื่ออาหาร ร่างกายก็จะอ่อนแอ และทำให้การเจริญเติบโตทางด้านร่างกายช้าลง

ด้านจิตใจ เด็กที่ไม่สบายเพราะขาดภูมิต้านทาน อาจจะไม่ยอมไปโรงเรียน กลายเป็นเด็กที่ติดแม่ ขาดทักษะการเข้าสังคม เกิดความเครียด ที่เรียกว่าเป็น “Psychological Depression” ทำให้มีพัฒนาการที่ถดถอย ต่างกับเด็กที่มีสุขภาพเเข็งแรงเพราะมีภูมิคุ้มกันที่ดี

คุณหมอบอกวิธีสังเกตว่า เด็กเล็กจะมีอาการชัก ผื่นขึ้น แหวะนม ท้องเสีย เลี้ยงไม่โต หรือบางรายปากและหน้าบวมภายใน 15 -30 นาทีหลังจากสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งส่วนมากจะแพ้อาหารทั่วไป อย่าง นม ไข่ และแป้งสาลี ในขณะที่ผู้ใหญ่มักจะแพ้อาหารทะเล

หากเป็นหอบหืด จะหายใจหอบและหายใจเร็ว และอาจตัวเขียว หายใจไม่ได้เลย ส่วนจมูกอักเสบ จะมีอาการจาม คัน มีน้ำมูก คันตา หากทิ้งไว้หลายปี จะเสี่ยงต่อโรคไซนัสอักเสบ ซึ่งภายหลังติดเชื้อ ผู้ป่วยจะไอบ่อย เป็นหนอง ในรายที่เป็นมาก อาจปวดหัว และเสี่ยงต่อการเป็นฝีในสมองในอนาคตได้

อาการภูมิแพ้จะมีพัฒนาการต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เริ่มจากเด็กคนหนึ่ง ในขวบแรกที่แพ้อาหาร ต่อมาเด็กคนนี้อาจจะมีผื่นตามตัว หรือหืดหอบ และไม่นานอาจเสี่ยงต่อการเป็นจมูกอักเสบเมื่อเป็นผู้ใหญ่

ฉะนั้น อย่ามัวรีรอวิทยาการแพทย์ที่ยังมาไม่ถึง หรือคิดจะพึ่งพิงวัคซีน เพราะไม่มีวัคซีนตัวไหนจำเพาะเจาะจง อีกทั้งบางคนยังแพ้หลายตัว ทางที่ดีเราควรหาวิธีธรรมชาติเพื่อป้องกันภูมิแพ้ให้ลูกน้อยดีกว่า นั่นคือ การสร้างภูมิต้านทานหรือกระตุ้นภูมิคุ้มกันในเม็ดเลือดขาวที่แทรกซึมทั่วร่างกาย

หากยังเป็นว่าที่คุณแม่ ก็ควรโด้ปแหล่งอาหารต้านอนุมูลอิสระ อย่าง วิตามิน เอ อี ซี สังกะสี และบริโภคปลาเป็นประจำเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ลูกอยู่ในท้อง และเลือกวิธีการคลอดธรรมชาติดีกว่า

ส่วนการเลี้ยงดูต้องเริ่มจากการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ควรพาหนูๆ ไปอยู่กับธรรมชาติ ให้ภูมิคุ้มกันได้ถูกกระตุ้นด้วยสารธรรมชาติ
ถ้าขืนปล่อยให้อยู่แต่ในห้องปรับอากาศที่ไม่ถ่ายเทไปเรื่อยๆ ทั้งไรฝุ่น เกสรดอกไม้ หรือขนสัตว์เลี้ยงก็จะค่อยๆ สะสมในตัวลูกมากขึ้น

ที่สำคัญยังต้องเพิ่มสารอาหารที่ จำเป็นสำหรับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ลูกน้อย (Functional Food) ได้แก่ ดีเอชเอ จากน้ำมันปลา ธัญพืช ไข่แดง รวมถึงสารสกัดในนมผงสำหรับทารกที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในเซลล์เยื่อบุทาง เดินหายใจ ซึ่งเป็นด่านแรกของการสัมผัสเชื้อโรค แถมยังช่วยเสริมสร้างสมอง และระบบประสาท สายตา และเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันไปในตัว

รวมทั้งอาหารเสริมที่มีใยอาหาร เช่น ผักผลไม้ เช่น กล้วย พืชมีหัว ซึ่งอินนูลีนจะไม่ถูกย่อย ทำให้แบคทีเรียที่ดีในลำไส้เจริญเติบโตได้
นอกจากท้องไม่ผูกแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของระบบทางเดินอาหารให้กับลูกน้อยเพื่อเป็นเกราะป้องกันการติดเชื้อโดยง่าย และวิธีนี้ยังช่วยป้องกันไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่เป็นของแถม

พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องไปซื้อวิตามินเม็ดสำเร็จรูป เพราะสัดส่วนที่กำหนดมานั้นสำหรับผู้ใหญ่ จึงไม่เหมาะกับเด็ก เพียงแค่บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ เป็นอาหารธรรมชาติให้สมดุลกับน้ำหนักตัว เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว

อีกทั้ง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนเร่งปฏิกิริยา และมลพิษ ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการภูมิแพ้แสดงออกมา ผลที่ได้รับก็คือเราจะไม่ป่วย และไม่เป็นภูมิแพ้ เจริญเติบโตดี และโอกาสเกิดโรคน้อยลง เหมือนเกราะที่คุ้มกันเราอยู่ มีภูมิคุ้มกัน ก็เท่ากับ คุ้มกันชีวิต

แม้จะป้องกันเป็นอย่างดีแล้ว เราก็ยังโล่งใจไม่ได้อีก

เพราะวิธีการรักษาโรคภูมิแพ้อ้างอิงเพียงการแพทย์แผนปัจจุบัน มีพื้นฐานการศึกษาทดลอง เห็นผลได้เท่านั้น แต่ศาสตร์แพทย์ทางเลือก ยังล้วงตับ เจาะลึกถึง ภูมิแพ้อาหารแฝง ซึ่งยังไม่สำแดงอาการให้เห็นกันเลย

บางคนหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้ไม่เจอ รักษาไม่หายสักที หรือรักษาเท่าไรก็ไม่หายขาด เป็นๆ หายๆ ต้องกินยาแก้แพ้ตลอดเวลา เข้าออกโรงพยาบาลเป็นว่าเล่น เปลี่ยนหมอมาไม่รู้กี่ที ก็อาจสรุปได้ว่า คนนั้นน่าจะเป็นภูมิแพ้อาหารแฝง

นพ. ต่อศักดิ์ ทิพย์ไพโรจน์ หัวหน้าทีมแพทย์ศูนย์สุขภาพองค์รวมและสปา ตรัยยา (TRIA) อธิบายว่า ภูมิแพ้เกิดจากอาหารสะสมเป็นเวลานาน นอกจากจะมีไข่ นม ถั่ว เป็นสามตัวการใหญ่แล้ว อาหารที่บริโภคเข้าปากทุกวันอาจเป็นสาเหตุของโรคนี้ก็ได้

ทางแก้ไขหลังจากตรวจแล็ปรายการอาหาร 30 ชนิด หรือ 96 ชนิดอย่างละเอียดแล้ว ผู้ป่วยจะต้องเลี่ยงอาหารต้องสงสัย 2-3 สัปดาห์ แล้วทดแทนด้วยแหล่งอาหารอื่น เช่นแพ้เนื้อวัว ก็ต้องบริโภคโปรตีนจากปลา หรือแพ้นม ก็หันไปหาแหล่งแคลเซียมอื่น และอาศัยการหมุนเวียนอาหารอยู่เสมอ

ต่อจากนั้นถึงขั้นฟื้นฟูระบบการย่อยอาหาร ส่งเสริมสมดุล กระตุ้นภาวะย่อยอาหาร สร้างสุขนิสัยการกินที่ดี และเสริมสร้างสารอาหารที่ขาด เพื่อให้สารอาหารเข้าไปมีบทบาทการเปลี่ยนแปลงของยีน และตัดขาดจากอาการไม่พึงประสงค์ทั้งหลายแบบถาวร

แทนที่จะนั่งรอวัคซีน หรือพึ่งพาหมอ ควรเสริมภูมิต้านทานให้ลูกน้อยเอาไว้สู้กับนานาโรคใหม่หน้าตาแปลกๆ กันดีกว่า

โรคภูมิแพ้

คุณคงจะเคยมีอาการต่าง ๆ ดังนี้ จาม คันจมูก ตา หูและลำคอ มีน้ำมูกใส ๆ ไหลออกมาบ่อย ๆ รู้สึกจมูกตัน ตาแดง และมีน้ำตาไหล คุณอาจไม่เคยทราบมาก่อนว่า โรคภูมิแพ้อาจทำให้เกิดอาการเจ็บคอ ไอ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ปวดศรีษะ และปวดบริเวณคาง และหน้าผาก

ชนิดของโรคภูมิแพ้ เราสามารถแบ่งชนิดของโรคภูมิแพ้ออกได้เป็น 2 ชนิดคือ

1. โรคภูมิแพ้ชนิดเป็นตามฤดูกาล จะมีอาการเป็นช่วง ๆ ของปี ขึ้นอยู่กับช่วงที่สารก่อภูมิแพ้ถูกผลิตออกมา สารก่อภูมิแพ้ในกรณีนี้ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ฟางข้างต่าง ๆ

2. โรคภูมิแพ้ชนิดเป็นตลอดปี คนไข้จะมีอาการตลอดทั้งปี เนื่องจากคนไข้จะสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ตลอดเวลา ทำให้มีอาการแบบเรื้อรัง สารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้คนแพ้กันมาก คือ ไรฝุ่นในบ้าน เชื้อรา ขนสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

การดูแลรักษาภูมิแพ้

1. หลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยควรพยายามหลีกเลี่ยงสารที่ทราบว่าตนเองแพ้ เพื่อที่จะให้อาการเกิดน้อยลง และใช้ยาน้อยลงด้ว

  • ควรมีสิ่งของเครื่องเรือนให้น้อยที่สุดเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อที่จะได้ทำความสะอาด และกำจัดฝุ่นได้ง่าย
  • พรม และผ้าม่านไม่ควรใช้เพราะเป็นแหล่งสะสมฝุ่น
  • เครื่องนอนทั้งหมดควรเป็นใยสังเคราะห์ ไม่ใช้ฟูก ที่นอน หมอน หรือหมอนข้างที่ยัดไส้ด้วยนุ่น เพราะนุ่นเป็นทีอยู่ของไรฝุ่น ควรใช้ชนิดที่ทำจากยาง หรือฟองน้ำ หากต้องใช้ที่นอนที่ยัดไส้ด้วยนุ่น ก็ควรหุ้มด้วยพลาสติก หรือผ้าร่มก่อน
  • ที่นอนหมอน มุ้ง ควรได้รับการตากแดดจัด ๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อฆ่าตัวไร
  • ซักผ้าปูที่นอน เครื่องนอน และผ้าม่านอย่างสม่ำเสมอโดยใช้น้ำร้อน (อย่างน้อย 60 C) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จะฆ่าไรฝุ่นได้
  • ผ้าห่ม ไม่ควรใช้ประเภทขนสัตว์ ผ้าสักหลาด ผ้าสำลี ควรใช้ผ้าห่มที่ทำจากใยสังเคราะห์
  • พื้นห้องควรเป็นพื้นขัดมัน เพราะกำจัดฝุ่นได้ง่าย
  • เครื่องปรับอากาศช่วยให้ละอองฝุ่น เกสร และเชื้อราจากภายนอกบ้านเข้ามาในห้องนอนน้อยลง โดยเฉพาะในรุ่นที่มีระบบกรองอากาศ
  • พัดลม ไม่ควรเปิดแรง หรือเป่าตรงตัวผู้ป่วย และไม่ควรเป่าลงพื้น เพราะจะเป็นการเป่าฝุ่นให้เข้าจมูกมากขึ้น อาการภูมิแพ้จะกำเริบได้ง่าย
  • พยายาม จัดห้องให้โล่ง สะอาด ไม่มีฝุ่น ไม่เป็นที่เก็บสะสมเสื้อผ้าเก่า ๆ หนังสือเก่า ๆ กองเอกสาร ของเล่น หรือของที่ไม่ใช้แล้วทั้งหลาย อันจะเป็นที่อยู่ของแมลงสาบ แมลงอื่น ๆ รวมทั้งฝุ่นด้วย
  • ไม่ควร เลี้ยงสัตว์ไว้ในบ้าน ถ้าอยากเลี้ยงจริง ๆ แนะนำให้เลี้ยงปลาเท่านั้น การอาบน้ำให้สัตว์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จะช่วยละสารภูมิแพ้ลงได้มาก และยังเป็นการล้างเอาน้ำลาย ฝุ่น เชื้อรา และเกสรดอกไม้ออกจากขนของมันด้วย หลังอาบน้ำให้มันแล้ว หากสามารถล้างตัวมันด้วยน้ำกลั่นได้ก็จะยิ่งได้ผลดี
  • พยายามกันสัตว์เลี้ยงไว้ข้างนอกเท่าที่เป็นไปได้ ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในห้องนอน
  • ล้างมือทุกครั้งที่คุณสัมผัสสัตว์เลี้ยง และพยายามให้มันอยู่ห่าง ๆ จากใบหน้าของคุณ
  • ไม่ควรปลูกต้นไม้ในบ้าน กระถางดอกไม้ที่อับชื้นจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อราได้
  • ถ่ายน้ำออกจากบริเวณที่มีน้ำขังในสนามหญ้า เก็บกวาดเศษใบไม้ และวัชพืชก่อนที่จะเริ่มเน่า เก็บของหมักใด ๆ ให้ห่างจากตัวบ้าน
  • ทำความสะอาดฝักบัวในห้องน้ำ หรืออ่างน้ำอย่างสม่ำเสมอด้วยน้ำยาทำความสะอาด และตรวจดูว่ามีเชื้อราขึ้นที่ม่านห้องน้ำหรือไม่
  • ควรจัดบ้านให้อากาศถ่ายเทได้ดี และแสงแดดส่องถึง
  • ควรหาทางกำจัดแมลงภายในบ้าน โดยเฉพาะแมลงสาบ เพราะซาก และอุจจาระของแมลงสาบเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญ
  • การทำความสะอาด ทำความสะอาดห้องนอนด้วยผ้าชุบน้ำเปียก ๆ ไม่ควรกวาด หรือปัดฝุ่นจุทำให้ฝุ่น และเศษไรฝุ่นฟุ้งกระจายอยู่ในห้อง ถ้าใช้เครื่องดูดฝุ่น ตัวผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ไม่ควรทำเอง และควรเช็ดด้วยผ้าเปียกซ้ำอีกครั้งหนึ่ง หากจำเป็นต้องทำความสะอาดเอง ควรทานยาก่อนที่คุณจะทำความสะอาด หรือดูดฝุ่น หรือสวมหน้ากากกรองฝุ่นในขณะทำความสะอาด หรือใช้ฟ้าชุบน้ำบิดให้หมาด ๆ ปิดปาก และจมูก

2. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น

3. การรักษาด้วยยา ยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮีสตามีน มี 2 กลุ่ม
  • ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มเก่า มีข้อควรระวัง คือ มักจะทำให้เกิดอาการง่วงซึม และมีอาการข้างเคียง เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ใจสั่น
  • ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มใหม่ มีข้อดี คือ ไม่ทำให้ง่วง อาการข้างเคียงน้อยลงไม่ต่างจากการให้เม็ดแป้ง ออกฤทธิ์ไดนานกว่าซึ่งทำให้ไม่ต้องกินยาบ่อย ๆ ส่วนมากวันละ 1-2 ครั้งก็พอ
  • ยาลดอาการคัดจมูก จะลดอาการบวมของเยื่อบุจมูก ทำให้ช่องจมูกโล่งขึ้น
  • ยาสเตอรอยด์ เป็นยาที่ช่วยลดอาการบวมของเยื่อบุจมูก รวมไปถึงอาการอักเสบภายในช่องจมูก อาการคัดแน่นจมูก คัน จามได้ดี ทั่วไปมักจะใช้ในรูปแบบพ่นเข้าจมูกโดยตรง
4. การฉีดยารักษาภูมิแพ้
โดยการฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วยทีละน้อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ต้องใช้เวลานานจึงเห็นผล (ประมาณ 3-5 ปี) และต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้รักษา

Wednesday, August 26, 2009

ผงชูรส คืออะไร?

1. ผงชูรสคืออะไร

ผงชูรส คือ สารเคมีที่มีสูตรเคมีดังนี้ มีชื่อทางเคมีว่า โมโนโซเดียม-แอล-กลูตาเมต (MONOSODIUM-L-GLUTAMATE) และมีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า เอ็ม เอส จี (MSG) ซึ่งย่อมาจากชื่อเต็มภาษาอังกฤษที่ขีดเส้นใต้ไว้นั่นเอง ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกว่า “บี่เจ็ง”

2. ขบวนการผลิตผงชูรส

ผง ชูรสผลิตจากขบวนการทางเคมี ซึ่งมีทั้งกระบวนการหมักและต้องใช้สารเคมีหลายตัว เช่น กรดกำมะถันหรือกรดซัลฟูริค กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก ยูเรีย ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในปัสสาวะของคน นอกจากนี้ยังต้องใช้โซดาไฟอีกด้วย
ขบวน การผลิตผงชูรสอาจเขียนเป็นแผนผังโดยย่อได้ดังต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างที่ผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง โปรดสังเกตสารเคมีที่ต้องใช้ในแต่ละขั้นตอน ซึ่งมีทั้งกรดและด่างโซดาไฟ รวมทั้งยูเรียด้วย

ขบวนการผลิตผงชูรส

2.1. แป้งมันสำปะหลัง (TAPIOCA หรือ CASSAWA STARCH)
ใช้กรดกำมะถันหรือกรดซัลฟูริค (H2SO4) ผ่านขบวนการย่อยสลายแป้งทางเคมีที่ 130 องศาเซลเซียส (SACCHARIFICATION)

2.2. สารละลายน้ำตาลกลูโคส (GLUCOSE SOLUTION) ใช้ยูเรีย(Urea) และเชื้อจุลินทรีย์ (Corynebacterium glutanicum) ผ่านขบวนการหมัก (Fermentation)

2.3. แอมโมเนียมกลูตาเมต (Ammonium Glutamate) ใช้กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริค (HCl)
ผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

2.4. กรดกลูตามิค (Glutamic acid) ใช้โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)
ผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

2.5. สารละลายผงชูรสหยาบ (MSG. Crude Solution) ใช้สารเคมีฟอกสี ผ่านขบวนการฟอกสี

2.6. สารละลายผงชูรสใส (MSG. Clear Solution) ผ่านขบวนการตกผลึก
ผลึกผงชูรส (MSG. Crystals)

3. ผงชูรสมีประโยชน์หรือไม่

ผงชูรสไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการ ถึงแม้จะเกี่ยวข้องกับกรดกลูตามิค ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ไม่มีความจำเป็น เพราะร่างกายผลิตเองได้ จึงไม่มีคุณค่าทางอาหารแต่อย่างใดทั้งสิ้น

อนึ่ง ผงชูรสเป็นสารเคมีคนละตัวกับกรดกลูตามิคที่มีอยู่ในธรรมชาติและในอาหาร ประเภทโปรตีน โดยที่ผงชูรสเป็นเกลือโซเดียมเช่นเดียวกับเกลือแกง เป็นคนละตัวกับกรดเกลือที่หลั่งอยู่ในกระเพาะอาหารเวลาหิว นอกจากไม่มีประโยชน์แล้ว ผงชูรสยังมีโทษและพิษภัยอันตรายมากมายด้วย ซึ่งจะกล่าวโดยย่อดังต่อไปนี้

4. พิษภัยและอันตรายของผงชูรส
พิษภัยและอันตรายของผงชูรสอาจแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เกิดจากโซเดียมและส่วนที่เกิดจากตัวผงชูรสแท้ๆ

5. พิษภัยและอันตรายที่เกิดจากเกลือโซเดียม
ผงชูรสมีโซเดียมที่มาจากโซดาไฟเป็นองค์ประกอบสำคัญเช่นเดียวกับเกลือแกง แต่อันตรายมากกว่าเกลือแกงตรงที่ว่าเกลือแกงใช้เพียงนิดเดียว ก็รู้สึกว่ามีรสเค็ม แต่ผงชูรสใส่มากเท่าไรก็ไม่รู้สึกตัวว่ามีปริมาณโซเดียมมากเท่าไร เพราะไม่มีรสเค็มให้รู้สึกเหมือนอย่างเกลือแกง หรือพูดอีกนัยหนี่ง ผงชูรสมี “พิษแฝง” ในเรื่องโซเดียม ซึ่งมีพิษภัยอันตรายดังต่อไปนี้

5.1 ทำให้ภูมิต้านทานหรือภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ลดลง ถึงแม้ผงชูรสจะไม่ทำให้เกิดโรคเอดส์โดยตรง แต่ (ภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง คือความหมายของโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งย่อมาจากคำว่า Antibody Immune Defficiency Syndrome

5.2 ทำให้เกิดการคั่งในสมองเด็ก ซึ่งเมื่อเด็กโตขึ้นจะเป็นคนปัญญาอ่อน ในปัจจุบันนี้มีเด็กปัญญาอ่อนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่มีผงชูรสแพร่หลายในประเทศไทย จะเกี่ยวข้องกันทั้งทางตรงและทางอ้อมหรือไม่น่าศึกษา

5.3 ทำให้เด็กทารกเกิดอาการชักโคมา ซึ่งบางครั้งแพทย์ไม่รู้สาเหตุ อาจทำการรักษาผิดพลาดเป็นอันตรายได้

5.4 เป็นภัยต่อหญิงมีครรภ์ทำให้ร่างกายบวมและยังมีพิษภัยต่อทารกในครรภ์และทารกแรกเกิดด้วย

5.5 อันตรายต่อผู้เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคไต ความดันสูง โรคหัวใจ และโรคอื่นๆที่แพทย์ห้ามกินของเค็ม ซี่งหมายถึงการห้ามกินเกลือโซเดียมนั่นเอง ได้แก่เกลือแกงและผงชูรสเป็นต้น

6. พิษภัยและอันตรายที่เกิดจากตัวผงชูรสแท้

6.1 ทำให้เกิดอาการแพ้ผงชูรส ซึ่งจะมีอาการชาและร้อนวูบวาบที่ปาก ลิ้น ใบหน้า โหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก บางคนมีผื่นแดงเกิดขึ้นตามตัว แน่นหน้าอก หัวใจเต้นช้าลง หายใจไม่สะดวก เป็นต้น จนเป็นที่รู้จักและขนานนามโรคแพ้ผงชูรสว่า “ไชนีสเรสทัวรองซินโดม”(Chinese Restaurant Syndrome) หรือ “โรคภัตตาคารจีน” เพราะร้านอาหารจีนมักใช้ผงชูรสกันมากนั่นเอง

6.2 ทำลายสมองส่วนหน้าที่เรียกว่าไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตและระบบสืบพันธุ์ของร่างกาย ทำให้การเจริญเติบโตช้า ปัญญาอ่อน ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ เป็นหมัน อวัยวะสืบพันธุ์เล็กลง ทั้งในเรื่องขนาดและน้ำหนัก

6.3 ทำลายระบบประสาทตา สายตาเสียหรือเกิดตาบอดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัตว์ทดลอง ยิ่งอายุน้อยจะยิ่งเกิดผลร้ายมาก

6.4 ทำลายกระดูกและไขกระดูก ซึ่งเป็นส่วนที่ผลิตเม็ดเลือดแดงในร่างกาย อาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้ นอกเหนือจากโรคทรัพย์จาง เพราะต้องใช้เงินซื้อผงชูรสโดยไม่จำเป็น

6.5 ทำให้ไวตามินในร่างกายลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวตามินบี-6 ทำให้ร่างกายผิดปกติและเป็นโรคผิวหนังได้ง่าย (การค้นพบนี้ทำให้ใช้ไวตามินบี-6 แก้โรคแพ้ผงชูรสได้)

6.6 เกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผงชูรสที่ผ่านความร้อนสูงๆ เช่น การปิ้ง ย่าง เผา ทำให้เกิดสารก่อมะเร็งในอวัยวะต่างๆ ได้หลายแห่ง เช่น ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับและสมอง เป็นต้น

6.7 ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ทำให้เป็นโรคประสาทได้ง่ายขึ้น ในปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคประสาทมากขึ้นเรื่อยๆ น่าศึกษาว่าเกิดจากผงชูรสได้หรือไม่

6.8 เปลี่ยนแปลงโครโมโซม ทำให้ร่างกายเกิดวิรูปหรือผิดปกติ ปากแหว่ง หูแหว่ง จมูกวิ่น แขนขาพิการ เป็นต้น

6.9 ถ้ากินมากจะผ่านเยื่อกั้นระหว่างรกภายในร่างกายของผู้เป็นมารดากับทารกในครรภ์ได้ ทำให้ทารกในครรภ์ได้รับผลกระทบจากผงชูรส

6.10 ทำให้เด็กเล็กถึงตายได้ เด็กไทยอายุ 20 เดือนถึงแก่ความตาย เมื่อกินขนมครกโรยผงชูรสด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นน้ำตาล (เรื่องนี้ผู้เขียนได้สัมภาษณ์บิดามารดาของเด็กเอง)

7. ผงชูรสแท้กับผงชูรสเทียม

ทุก ๆ วันนี้ผงชูรสมีราคาถูก จึงไม่มีการปลอมปนด้วยสารเคมีชนิดบอแรกหรือโซเดียมเมตาฟอสเฟต ซึ่งมีเกล็ดคล้ายคลึงกับผงชูรส อย่างที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนที่ผงชูรสมีราคาแพงมาก

อย่างไรก็ตาม หากมีการปลอมปนผงชูรสในปัจจุบันนี้ มักจะปลอมปนด้วยน้ำตาลทรายหรือเกลือแกง
ดังนั้น ในปัจจุบันนี้จึงไม่ค่อยมีผงชูรสปลอม ซึ่งมักจะเป็นข้ออ้างของบริษัทผู้ผลิต รวมทั้งข้าราชการที่สนับสนุนบริษัทผู้ผลิตผงชูรสว่า “ผงชูรสแท้ไม่อันตราย ผงชูรสปลอมจึงจะอันตราย”

อันที่จริงถ้าหากมีผงชูรสปลอมปนด้วยน้ำตาลหรือเกลือแกง ผงชูรสแท้ย่อมจะอันตรายมากกว่าผงชูรสปลอม เพราะน้ำตาลทรายมีพิษภัยน้อยกว่าผงชูรส ส่วนเกลือแกงก็มีรสเค็มจัด ถ้ากินผงชูรสในปริมาณที่จะให้รสเค็มเท่าเกลือแกงแล้ว จะมีพิษภัยมากกว่าเกลือแกงหลายเท่าตัว

ปวดหลัง ปวดคอ...อาการปวดที่ไม่ควรมองข้าม!

คุณเคยสังเกตไหมว่าอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ที่ร้าวลงไปถึงแขนหรือบางครั้งอาจจะแผ่ซ่านขึ้นไปถึงศีรษะ จนบางครั้งคุณเข้าใจไปว่าปวดไมเกรน? และไม่ว่าคุณจะทานยาเท่าไร อาการปวดก็ไม่หาย ซ้ำยังจะกลับมาใหม่หลังจากยาแก้ปวดหมดฤทธิ์

ยิ่งหากชีวิตประจำวันของคุณคือนั่งทำงานในออฟฟิศทั้งวัน แถมยังไม่มีเวลา และไม่สามารถออกกำลังกายเป็นประจำได้ด้วยแล้ว อาการปวดร้าวตามแขน ขา บ่า ไหล่ ที่คุณเป็นอยู่ ดูถาวร หายขาดยาก คุณอาจจะนึกไม่ถึงว่าอาการปวด ที่คุณเป็นอยู่นั้นอาจจะมีสาเหตุมาจากกระดูกสันหลัง!

โรคของคนเมือง

อาการปวดร้าวไปตามแขน ขา หลายครั้งพบว่าเกิดจากปัญหาของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะปัญหา การหดเกร็งของกล้ามเนื้อแบบ Office Syndrome ซึ่งเป็นโรคของคนเมือง ที่ทำงานออฟฟิศขะมักเขม้น ไม่ได้ออกกำลังกาย คุณภาพชีวิตไม่ดี พักผ่อนน้อย อาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อนี้ อาจจะรุนแรงน้อยหรือทรมานมาก และยาแก้ปวดก็ไม่สามารถทำให้หายขาดได้ เนื่องจากการปวดจากกล้ามเนื้อหดเกร็งตัวนี้ มีอาการคล้ายกับกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรืออาจพบทั้งสองโรคพร้อมกัน เนื่องจากปัญหาของกล้ามเนื้อ และกระดูกสันหลังนั้นมีความสัมพันธ์กัน

นานาโรคเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง

โรคกระดูกสันหลังที่สามารถกดทับเส้นประสาทที่พบบ่อยในคนทำงาน และมักจะถูกวินิจฉัยบ่อยๆได้แก่ โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้น (HNP) ช่องกระดูกเสื่อมตีบทับเส้นประสาท (Spinal Stenosis) กระดูกเสื่อมทับไขสันหลังส่วนคอ (CSM) หมอนรองกระดูกเอวเสื่อม (DDD) กระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนทับเส้น เป็นต้น ซึ่งอาการปวดร้าวไปตามแขน และขานั้น สามารถเป็นได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นปวดมากจนเดินไม่ได้ก็มี

“กลุ่มโรคที่พบบ่อยในคนวัยทำงานที่นั่งทำงานทั้งวัน ได้แก่ ภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท โดยปัญหาเล็กน้อยที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อในชีวิตประจำวัน อาทิ ปวดหัว ปวดคอ ปวดไหล่เรื้อรัง และปวดแก้มก้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้เกิดอาการปวดร้าว คล้ายการปวดร้าวตามเส้นประสาทได้เช่นกัน บางครั้งการบาลานซ์กล้ามเนื้อคอที่ไม่เท่ากัน มีผลไปยังเส้นประสาท มีอาการชาตามแขนขา บางคนปวดแขนปวดขานึกว่าเป็นกระดูกคอทับเส้นประสาท แต่ทำ MRI แล้วอาจจะไม่พบ ซึ่งในกรณีนี้ต้องทำการรักษาด้วยการกายภาพบำบัด หรือ การรักษาด้วยเทคนิค Intervention spine pain management”

สำหรับการรักษาอาการเจ็บป่วยจากโรคทางกระดูกสันหลังนั้นไม่ได้มีแค่การผ่า ตัดเพียงเท่านั้น “การรักษาอาการปวดจากโรคกระดูกสันหลัง และกล้ามเนื้อรอบๆ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ 1. Non-surgical อาทิ การรักษาด้วยการใช้ยาแก้ปวด (NSAID) การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยการบริหาร (Exercise) การกายภาพบำบัด การ mobilization กล้ามเนื้อ-กระดูกสันหลังให้คลายจากการเครียดตึง ซึ่ง 50-60 % ของผู้ป่วยจะหายดีในขั้นตอนนี้ นอกจากนี้ยังมีการรักษาด้วยเทคนิคใหม่เช่นการทำ Intervention Spine Pain Management เป็นการรักษาอาการปวดด้วยการใช้เข็ม เช่น การฉีดยาต้านการอักเสบรอบเส้นประสาท (SNRB) การลดการกดทับจากหมอนรองกระดูกด้วยเข็มคลื่นความถี่สูง (Nucleoplasty) การลดการไวของเส้นประสาทด้วยเข็มคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radiofrequency needle) หรือการฝังเข็มเพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้ากระตุ้นในจุดที่เป็นสาเหตุ เป็นต้น

และการรักษาประเภทที่ 2. ได้แก่การผ่าตัด อาทิ ผ่าหมอนรองกระดูกแบบแผลเล็ก (Microdiscectomy) ผ่าตัดขยายช่องทางออกของเส้นประสาท (Laminectomy) การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Spinal Fusion) อาจจะใส่หรือไม่ใส่สกรูไททาเนียม การผ่าตัดเชื่อมข้อที่คอด้านหน้า(Robinson Fusion) การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียม(TDR) เป็นต้น ซึ่งแนวทางการผ่าตัดนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความ ชำนาญของแพทย์เท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพยาธิสภาพของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย”