Search This Blog

Thursday, August 27, 2009

โรคภูมิแพ้

คุณคงจะเคยมีอาการต่าง ๆ ดังนี้ จาม คันจมูก ตา หูและลำคอ มีน้ำมูกใส ๆ ไหลออกมาบ่อย ๆ รู้สึกจมูกตัน ตาแดง และมีน้ำตาไหล คุณอาจไม่เคยทราบมาก่อนว่า โรคภูมิแพ้อาจทำให้เกิดอาการเจ็บคอ ไอ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ปวดศรีษะ และปวดบริเวณคาง และหน้าผาก

ชนิดของโรคภูมิแพ้ เราสามารถแบ่งชนิดของโรคภูมิแพ้ออกได้เป็น 2 ชนิดคือ

1. โรคภูมิแพ้ชนิดเป็นตามฤดูกาล จะมีอาการเป็นช่วง ๆ ของปี ขึ้นอยู่กับช่วงที่สารก่อภูมิแพ้ถูกผลิตออกมา สารก่อภูมิแพ้ในกรณีนี้ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ฟางข้างต่าง ๆ

2. โรคภูมิแพ้ชนิดเป็นตลอดปี คนไข้จะมีอาการตลอดทั้งปี เนื่องจากคนไข้จะสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ตลอดเวลา ทำให้มีอาการแบบเรื้อรัง สารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้คนแพ้กันมาก คือ ไรฝุ่นในบ้าน เชื้อรา ขนสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

การดูแลรักษาภูมิแพ้

1. หลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยควรพยายามหลีกเลี่ยงสารที่ทราบว่าตนเองแพ้ เพื่อที่จะให้อาการเกิดน้อยลง และใช้ยาน้อยลงด้ว

  • ควรมีสิ่งของเครื่องเรือนให้น้อยที่สุดเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อที่จะได้ทำความสะอาด และกำจัดฝุ่นได้ง่าย
  • พรม และผ้าม่านไม่ควรใช้เพราะเป็นแหล่งสะสมฝุ่น
  • เครื่องนอนทั้งหมดควรเป็นใยสังเคราะห์ ไม่ใช้ฟูก ที่นอน หมอน หรือหมอนข้างที่ยัดไส้ด้วยนุ่น เพราะนุ่นเป็นทีอยู่ของไรฝุ่น ควรใช้ชนิดที่ทำจากยาง หรือฟองน้ำ หากต้องใช้ที่นอนที่ยัดไส้ด้วยนุ่น ก็ควรหุ้มด้วยพลาสติก หรือผ้าร่มก่อน
  • ที่นอนหมอน มุ้ง ควรได้รับการตากแดดจัด ๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อฆ่าตัวไร
  • ซักผ้าปูที่นอน เครื่องนอน และผ้าม่านอย่างสม่ำเสมอโดยใช้น้ำร้อน (อย่างน้อย 60 C) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จะฆ่าไรฝุ่นได้
  • ผ้าห่ม ไม่ควรใช้ประเภทขนสัตว์ ผ้าสักหลาด ผ้าสำลี ควรใช้ผ้าห่มที่ทำจากใยสังเคราะห์
  • พื้นห้องควรเป็นพื้นขัดมัน เพราะกำจัดฝุ่นได้ง่าย
  • เครื่องปรับอากาศช่วยให้ละอองฝุ่น เกสร และเชื้อราจากภายนอกบ้านเข้ามาในห้องนอนน้อยลง โดยเฉพาะในรุ่นที่มีระบบกรองอากาศ
  • พัดลม ไม่ควรเปิดแรง หรือเป่าตรงตัวผู้ป่วย และไม่ควรเป่าลงพื้น เพราะจะเป็นการเป่าฝุ่นให้เข้าจมูกมากขึ้น อาการภูมิแพ้จะกำเริบได้ง่าย
  • พยายาม จัดห้องให้โล่ง สะอาด ไม่มีฝุ่น ไม่เป็นที่เก็บสะสมเสื้อผ้าเก่า ๆ หนังสือเก่า ๆ กองเอกสาร ของเล่น หรือของที่ไม่ใช้แล้วทั้งหลาย อันจะเป็นที่อยู่ของแมลงสาบ แมลงอื่น ๆ รวมทั้งฝุ่นด้วย
  • ไม่ควร เลี้ยงสัตว์ไว้ในบ้าน ถ้าอยากเลี้ยงจริง ๆ แนะนำให้เลี้ยงปลาเท่านั้น การอาบน้ำให้สัตว์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จะช่วยละสารภูมิแพ้ลงได้มาก และยังเป็นการล้างเอาน้ำลาย ฝุ่น เชื้อรา และเกสรดอกไม้ออกจากขนของมันด้วย หลังอาบน้ำให้มันแล้ว หากสามารถล้างตัวมันด้วยน้ำกลั่นได้ก็จะยิ่งได้ผลดี
  • พยายามกันสัตว์เลี้ยงไว้ข้างนอกเท่าที่เป็นไปได้ ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในห้องนอน
  • ล้างมือทุกครั้งที่คุณสัมผัสสัตว์เลี้ยง และพยายามให้มันอยู่ห่าง ๆ จากใบหน้าของคุณ
  • ไม่ควรปลูกต้นไม้ในบ้าน กระถางดอกไม้ที่อับชื้นจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อราได้
  • ถ่ายน้ำออกจากบริเวณที่มีน้ำขังในสนามหญ้า เก็บกวาดเศษใบไม้ และวัชพืชก่อนที่จะเริ่มเน่า เก็บของหมักใด ๆ ให้ห่างจากตัวบ้าน
  • ทำความสะอาดฝักบัวในห้องน้ำ หรืออ่างน้ำอย่างสม่ำเสมอด้วยน้ำยาทำความสะอาด และตรวจดูว่ามีเชื้อราขึ้นที่ม่านห้องน้ำหรือไม่
  • ควรจัดบ้านให้อากาศถ่ายเทได้ดี และแสงแดดส่องถึง
  • ควรหาทางกำจัดแมลงภายในบ้าน โดยเฉพาะแมลงสาบ เพราะซาก และอุจจาระของแมลงสาบเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญ
  • การทำความสะอาด ทำความสะอาดห้องนอนด้วยผ้าชุบน้ำเปียก ๆ ไม่ควรกวาด หรือปัดฝุ่นจุทำให้ฝุ่น และเศษไรฝุ่นฟุ้งกระจายอยู่ในห้อง ถ้าใช้เครื่องดูดฝุ่น ตัวผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ไม่ควรทำเอง และควรเช็ดด้วยผ้าเปียกซ้ำอีกครั้งหนึ่ง หากจำเป็นต้องทำความสะอาดเอง ควรทานยาก่อนที่คุณจะทำความสะอาด หรือดูดฝุ่น หรือสวมหน้ากากกรองฝุ่นในขณะทำความสะอาด หรือใช้ฟ้าชุบน้ำบิดให้หมาด ๆ ปิดปาก และจมูก

2. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น

3. การรักษาด้วยยา ยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮีสตามีน มี 2 กลุ่ม
  • ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มเก่า มีข้อควรระวัง คือ มักจะทำให้เกิดอาการง่วงซึม และมีอาการข้างเคียง เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ใจสั่น
  • ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มใหม่ มีข้อดี คือ ไม่ทำให้ง่วง อาการข้างเคียงน้อยลงไม่ต่างจากการให้เม็ดแป้ง ออกฤทธิ์ไดนานกว่าซึ่งทำให้ไม่ต้องกินยาบ่อย ๆ ส่วนมากวันละ 1-2 ครั้งก็พอ
  • ยาลดอาการคัดจมูก จะลดอาการบวมของเยื่อบุจมูก ทำให้ช่องจมูกโล่งขึ้น
  • ยาสเตอรอยด์ เป็นยาที่ช่วยลดอาการบวมของเยื่อบุจมูก รวมไปถึงอาการอักเสบภายในช่องจมูก อาการคัดแน่นจมูก คัน จามได้ดี ทั่วไปมักจะใช้ในรูปแบบพ่นเข้าจมูกโดยตรง
4. การฉีดยารักษาภูมิแพ้
โดยการฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วยทีละน้อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ต้องใช้เวลานานจึงเห็นผล (ประมาณ 3-5 ปี) และต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้รักษา

No comments:

Post a Comment